Journal Information
จริยธรรมการลงตีพิมพ์
จริยธรรมการตีพิมพ์จริยธรรมในการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ (Publication Ethics)
สำหรับผู้ตีพิมพ์ (Authors)
- ผู้เขียนบทความจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่มีการส่งตีพิมพ์ที่ทับซ้อนในขณะอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา หรือภายหลังการตอบรับตีพิมพ์จากทางวารสาร
- ผู้เขียนต้องมีเอกสารผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการจริยธรรมของสถาบันที่ทำการวิจัยนั้นๆ
- เนื้อหาในบทความจะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มา โดยให้ระบุ “ที่มา” เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ (หากมีการฟ้องร้องจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ทางวารสารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น)
- ผู้เขียนจะต้องแก้ไขบทความตามผลประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
- ผู้เขียนทุกท่าน มีส่วนร่วมในการวิจัยจริง โดยผู้เขียนทุกท่านจะเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบต่อข้อมูลของรายงานที่ตีพิมพ์สู่สาธารณะ
สำหรับผู้ประเมินบทความ (Reviewers)
- ผู้ประเมินบทความไม่นำความคิดเห็นส่วนตัว ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ และประเมินภายใต้ความยุติธรรม
- ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
- ผู้ประเมินบทความ ได้รับมอบหมายเนื้อที่ตรงความเชี่ยวชาญของตนเท่านั้น และหากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนกัน หรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่นๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
สำหรับบรรณาธิการ (Editors)
- พิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนรับผิดชอบ และไม่ตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
- ตรวจสอบความถูกต้องของบทความ พิจารณาคัดเลือกผลงานเพื่อตีพิมพ์ลงวารสาร หรือถอดถอนผลงาน หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความ ภายใต้ความเท่าเทียมกัน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ และเป็นผลงานใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
- ข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความจะถูกเก็บเป็นความลับ ตลอดช่วงระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการพิจารณา แก่ผู้อื่นๆ โดยเฉพาะการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
- ตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ด้วยโปรแกรมที่น่าเชื่อถือ และมีกระบวนการดำเนินการที่ชัดเจนในกรณีที่ตรวจพบ โดยจะต้องเป็นผู้ติดต่อผู้เขียนเพื่อขอคำชี้แจงทันที
- ดูแล ปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาดของการตีพิมพ์ และรับรองคุณภาพของวารสาร ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสาร