ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • พิศาล ถาวรวงษ์ โรงพยาบาลพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

การเข้าถึงบริการสุขภาพ, โรคเรื้อรัง, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อาศัยอยู่ในอำเภอพระพรหม จำนวน 8,197 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตรการประมาณค่าสัดส่วนในกรณีที่ทราบประชากร ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 441 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด สำหรับสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Odds Ratio และ Binary logistic regression

     ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง การเข้าถึงบริการสุขภาพอยู่ในระดับดี เมื่อแยกเป็นรายด้าน ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ยกเว้นด้านความสามารถในการจ่ายค่าบริการที่อยู่ในระดับไม่ดี ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพ ได้แก่ 1) ระยะทางจากบ้านถึงหน่วยบริการที่รักษาโรคเรื้อรัง พบว่า ระยะทางระหว่าง 6.01 – 9.00 กิโลเมตร จะมีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพดีกว่า 3.26 เท่า เมื่อเทียบกับระยะทางระหว่าง 0.00 – 3.00 กิโลเมตร 2) ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง-โรคหัวใจและหลอดเลือด จะมีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพดีกว่า 3.55 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมอง-โรคปอดอุดกั้น-โรคถุงลมโป่งพอง-โรคมะเร็ง 3) แรงสนับสนุนทางอารมณ์ระดับสูง จะมีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพดีกว่า 9.56 เท่า เทียบกับระดับต่ำ-ปานกลาง 4) แรงสนับสนุนด้านการช่วยเหลือที่ระดับสูงจะมีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพดีกว่า 11.34 เท่า เมื่อเทียบกับระดับต่ำ-ปานกลาง 5) แรงสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารระดับสูง จะมีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพดีกว่า 23.26 เท่า เมื่อเทียบกับระดับต่ำ-ปานกลาง และ 6) แรงสนับสนุนด้านการสะท้อนคิดหรือสนับสนุนให้ประเมินตนเองระดับสูง จะมีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพดีกว่า 9.86 เท่า เมื่อเทียบกับระดับต่ำ-ปานกลาง

     ดังนั้น ทีมบริการสุขภาพควรพัฒนาและสนับสนุนปัจจัยที่ช่วยเหลือต่อการเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงของผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดสมอง-โรคปอดอุดกั้น-โรคถุงลมโป่งพอง-โรคมะเร็ง นอกจากนี้ ชุมชน และท้องถิ่นควรพัฒนาปปัจจัยเอื้อด้านการเดินทาง การจัดการด้านอารมณ์ และการช่วยเหลือสนับสนุนในการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ได้ดีขึ้น

References

Best, J. W. (1977). Research in education. (3nded). Englewod Cliffs: Prentice-Hall.

Chaimay, B. (2016). Sample size determination in descriptive study in public health sample size determination in descriptive study in public health. Thaksin Journal, 16(2), 9-18.

Chailak, P. & Sunongbua, A. (2021). The outcome of diabetic patients care during the prevention of COVID-19 pandemic situation at Mueang Chaiyaphum primary care unit, 2020. Chaiyaphum Medical Journal, 41(1), 111-121.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2021). The impact of COVID-19 on chronic non-communicable disease service systems. Nonthaburi. (in Thai)

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Reading, MA: addison-wesley.

Nirarat, K. & Kidsom, A. (2017, December 7-8). Factors affecting access to health services for elderly in Bangkok. In The 14th National Academic Conference. Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus, Nakorn Phatom. (in Thai)

Nopphonkrang, C., Siridhara, S., & Limanond, T. (2015). Analysis of accessibility index of primary healthcare service for diabetic patients: a case study in Chiang Mai. The Public Health Journal of Burapha University, 10(1), 77-86.

Penchansky, R. & Thomas, J. W. (1981). The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Medical Care, 19(2), 127-140.

Racha, P., Kongros, J., Sodchien, T. (2020). The development of nursing service system for chronic non–communicable diseases (NCDs) patients in the COVID-19 outbreak Situation. Region 4-5 Medical Journal, 39(3), 414-426.

Siripitayakunkit, A. (2010). Social support: an important factor to care for persons with diabetes mellitus. Rama Nursing Journal, 16(2), 309-323.

Thanwong, T., Pensiri, N., & Keraphong, P. (2016). Factors related to medical care usage of chronic disease patients at sub-district health promoting hospitals in Khao Yoi health network, Petchaburi province. Journal of Safety and Health, 9(31), 26-36

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-12