ศึกษากระบวนการการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน (Stroke fast track) ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลลำพูน
คำสำคัญ:
การจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน, หอผู้ป่วยวิกฤตเฉพาะด้านโรคหลอดเลือดสมอง, ยาละลายลิ่มเลือดบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานสาขาโรคหลอดเลือดสมอง (Service Plan Stroke) ของโรงพยาบาลลำพูน ในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2559 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute ischemic stroke fast track) ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดสมอง (rTPA) และรับไว้ในหอผู้ป่วยวิกฤตเฉพาะด้านโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) จำนวน 55 ราย พบว่าผลลัพธ์ในปี พ.ศ. 2558 ผู้ป่วยร้อยละ 72 (16/22 ราย) ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมีอาการดีขึ้น (มีความพิการแต่เพียงเล็กน้อย หรือหายเป็นปกติ, mRS 0-3 คะแนน) พบว่าขั้นตอนของการรอผลค่าการแข็งตัวของเลือด (PT, PTT, INR) และค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ยังล่าช้ากว่าเกณฑ์มาตรฐาน (45 นาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 54.3 นาที (P-Value = 0.001) รวมทั้งขั้นตอนของการตรวจและรายงานผลเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT brain) ใช้เวลานานกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (30 นาที) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 34.9 นาที (P-Value = 0.026) ทางทีมสหวิชาชีพทำการแก้ไข โดยจัดหาเครื่อง PT, PTT, INR ประจำ
ณ ห้องฉุกเฉิน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) แจ้งผลเอ็กซเรย์สมองทันที หลังจากนั้น จึงได้มีการวัดผลสัมฤทธิ์ใหม่ในปี พ.ศ. 2559 พบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดมีอาการดีขึ้น (mRS 0-3คะแนน) เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็นร้อยละ 84 โดยที่มีอัตราเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 7 ตลอดทั้ง 2 ปี
ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดของระดับเขตสุขภาพ
References
2.นิจศรี ชาญณรงค์ ( สุวรรณเวลา). การดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
3.ปัทมา มิตรธรรมศิริ, พยุง เมฆพยัพ, อภินันท์ ชูวงษ์, ภัทรา อารักษ์พุทธนันท์, บุญมา โอฐธนู, วิมลศรี สมร และคณะ. (2553). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีและทีมสหสาขาวิชาชีพ หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปีงบประมาณ 2551 – 2552, สืบค้นจาก
http://www.photharamhosp.go.th/ptrhos/attachments/article/30/pdfd11.pdf
4.โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. (2554). รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันก่อนถึงโรงพยาบาลเพื่อรับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ. [online] 2554 [สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560] ; แหล่งข้อมูล URL https://www.cmneuro.go.th/TH/load/งานวิจัย/r57-1.pdf
5.สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤกษ์) สำหรับประชาชน; 2556.
6.สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย, สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา, กรมการแพทย์ทหารบก, สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดตั้งหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพมหานคร: ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์; 2550.
7.สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. ปีสุขภาวะที่สูญเสีย Disability-Adjusted Life Year; DALY รายงานภาวะโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2554. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.
8.สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. ภาวะโรคระดับเขตสุขภาพและภูมิภาคของประเทศไทย. นนทบุรี : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.
9.สำนักงานสถิติแห่งชาติ [online] 2554 [สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560] ; แหล่งข้อมูล URL http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/servGis/Report_stat/1_31.htm.
10.สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ปี 2556. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
11.สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.สถิติสาธารณสุข ปี 2552. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
12.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. [online] 2557 [สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2560] ; แหล่งข้อมูล URL http://203.157.10.8/resource/equibment.php.
13.สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2550). จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด/โรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคหลอดเลือดสมอง/โรคหลอดลมอักเสบ/ถุงลมโป่งพอง/และปอดชนิดอุดกั้นเรื้อรัง/โรคหืด. [online] 2550-2556 [สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2560] ; แหล่งข้อมูล URL http://www.http://www.thaincd.com/information/-statistic/non-communicable-disease-data.php.
14.สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2556). จำนวนอัตราตายโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ ประจำปีงบประมาณ 2557 (จำแนกตามเขตสุขภาพและจำแนกตาม สคร 12 เขต). [online] 2557 [สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2560] ; แหล่งข้อมูล URL http://www.thaincd.com/information/-statistic/non-communicable-disease-data.php.
15.สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต).นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
16.Rankin J. (1957). Cerebral vascular accidents in patients over the age of 60. Scottish Medical Journal. 2, 200-1.
The American Stroke Association’s Task Force on the Development of Stroke Systems.Recommendations for the establishment of stroke systems of care. Stroke 2005; 36: 690-703.
17.World Stroke Organization: WSO applauds new scientific findings in stent thrombectomy for treating
acute ischemic stroke with large vessel occlusion [cited June 2017] available from : URL http://www.worldstrokecampaign.org/media/com_form2content/documents/c7/a192/f37/EXTEND%20IA_WSO_Information%20Note__16Feb2015.final.pdf