ลักษณะและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการตายของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • อัมพาพันธ์ วรรณพงศภัค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน
  • กิตติกาญจน์ มูลฟอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

วัณโรค, สาเหตุการตาย, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

บทคัดย่อ

วัณโรคยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก จังหวัดลำพูนมีอัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากมีผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษาสูง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสียชีวิตระหว่างการรักษาโดยทำการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี จากโปรแกรมบริหารงานคลินิกวัณโรค (TB-Clinic Management: TBCM) ที่ขึ้นทะเบียนระหว่างปี 2555-2559 ในจังหวัดลำพูน ใช้ Univariate และ Odds Ratios ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95 (Confidence interval: CI) ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่จำนวน 806 ราย เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง (3.1:1) ผู้ป่วย 508/806 (ร้อยละ 63) มีอายุมากกว่า 50 ปี ผู้ป่วย 52/806 (ร้อยละ 6.5) ติดเชื้อ HIV และมีโรคร่วม 203/806 (ร้อยละ 25.2) มีผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษาจำนวน 105/806 ราย (ร้อยละ 13.0) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตสูงสุดคือการมีโรคร่วม 20.2 (OR 2.1, 95% CI 1.4-3.3, p<0.05) ปัจจัยรองลงมาคือการที่ผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 50 ปี หรือร้อยละ 17.3 (OR 3.5, 95% CI 2.0-5.9, p<0.05) ) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบแยกรายโรคระหว่างกลุ่มที่มีชีวิตและเสียชีวิตพบว่า กลุ่มที่เป็นโรคไตเสียชีวิตสูงสุดร้อยละ 42.9 (OR 5.1, 95% CI 1.1-23.2,p<0.05) รองลงมาคือกลุ่มที่เป็นมะเร็งร้อยละ 37.5 (OR 4.1, 95% CI 1.0-17.4, p<0.05) ถุงลมโป่งพองร้อยละ 33.3 (OR 3.7, 95% CI 1.9-7.3, p<0.05) และความดันโลหิตสูง ร้อยละ 23.5 (OR 2.4, 95% CI 1.4-4.0,p<0.05) ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ป่วยเสียชีวิตในช่วง 2 เดือนแรกสูงกว่าช่วง 4 เดือนหลัง ประมาณ 2.6 เท่า สรุปได้ว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษาเกิดจากการมีโรคร่วม และกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ การทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพยังมีความจำเป็นเพื่อบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคที่มีโรคประจำตัวแฝงอยู่ในการลดการเสียชีวิตในกลุ่มประชากรสูงอายุ

References

1.กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด, ยงยุทธ์ เม้ากำเนิด, พงศ์พจน์ เปี้ยน้ำล้อม, นันทพร ทำมาตา, ภิเษก ศิรวงษ์ และนภดล วันต๊ะ. (2556). สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกรายใหม่. พุทธชินราชเวชสาร. 30(3): 276-85.

2.จิตติพร มากเมือง, เบญจวรรณ ตาแก้ว, รุ้งอุษา นาคคงคำ, และคณะ. (2559). ปัจจัยเกี่ยวเนื่องการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค ณ โรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร. 8(1); 53-59.

3.เจริญศรี แซ่ตั้ง. (2560). ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษา ของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค. 43(4):436-447.

4.พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล. (2559). การเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี และอุปสรรคของความต่อ เนื่องในระบบบริการดูแลรักษาเอชไอวี. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต. 36(1): 8-18.

5.พัฒนา โพธิ์แก้ว, อภิญญา เชื้อสุวรรณ, วรรัตน์ อิ่มสงวน และคณะ. (2556). การศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในพื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤติ. 34 (2): 51-62.

6.ภัทรินี ไตรสถิตย์, พัฒนา โพธแก้ว และสุคนธ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี. (2550). การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการดื้อยา และการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรคปอดและการศึกษาเปรียบเทียบการรักษาหายของผู้ป่วยวัณโรคปอด จำแนกตามประเภทของพี่เลี้ยงในการรักษาด้วย ระบบยาระยะสนภายใต้การสังเกตตรง. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. หน้า 53-71.

7.ราเมศ คนสมศักดิ์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลพระสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 9(1). 19-27.

8.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. จำนวนผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคทุกประเภทและจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการรักษา จังหวัดลำพูน ปี 2550-2559. รายงานประจำปี 2559.

9.สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ พ.ศ.2556. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, 2556.

10. Chou-Han Lin, Chou-Jui Lin, Yao-Wen Kuo, et al. (2014). Tuberculosis mortality: patient characteristics and causes. BMC Infectious Diseases. 14(5): 1-8.

11.Elsa Zerbini, Adriana Greco, Silvia Estrada, et al. (2017). Risk factors associated with tuberculosis mortality in adults in six provinces of Argentina. Medicina (B Aires). 77(4): 267-273.

12.N. Lefebvre and D. Falzon. (2008). Risk factors for death among tuberculosis cases: analysis of European surveillance data. Eur Respir J. 31(6): 1256-60.

13.P. M. Arguin, H. Kiryanova, N. V. Kondroshova, et al. (2004). Risk factors for death during tuberculosis treatment in Orel, Russia. INT J TUBERC LUNG DIS. 8(5): 598–602.

14.Saiyud Moolphate, Myo Nyein Aung, Oranuch Nampaisan, et al. (2011). Time of highest tuberculosis death risk and associated factors: an observation of 12 years in Northern Thailand. Int J Gen Med. 4: 181–190.

15.WHO Global tuberculosis report 2014. Available from: http://www.who.int/tb/publications/global_report/en/

16.WHO Global tuberculosis report 2017. Available from: http://www.who.int/tb/publications/global_report/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป