ประสิทธิผลการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41: จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, เงินช่วยเหลือเบื้องต้น, พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มีเจตนารมณ์ที่จะจัดระบบการให้บริการสาธารณสุข ให้คนไทยได้รับการรักษาพยาบาลที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะมาตรา 41 ได้กำหนดให้มีการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข และให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้อง ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัด เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โดยตั้งแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา มีผู้ยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเพิ่มขึ้นทุกปี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 และปัจจัยที่มีผลและไม่มีผลต่อการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับผลประโยชน์ เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังเชิงพรรณนาจากเอกสารรายงานประชุมของคณะอนุกรรมการฯ ระหว่าง พ.ศ. 2547 – 2560 ผลการศึกษาพบว่า มีการพิจารณาคำร้องทั้งหมด 150 ราย ซึ่งเข้าเกณฑ์ 122 ราย (ร้อยละ 81.33) ส่วนใหญ่เป็นความเสียหายจากการรักษาพยาบาลโดยตรง และใช้เวลาพิจารณาคำร้องเสร็จภายใน 30 วัน การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นของคณะอนุกรรมการฯแก่ผู้รับผลประโยชน์ สอดคล้อง และเป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล โดยไม่มีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการตัดสิน การจ่าย หรือ การไม่จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้เสียหายหรือทายาท นอกจากนี้หน่วยบริการมีการทบทวนเหตุการณ์เพื่อค้นหาสาเหตุของความเสียหาย ผ่านระบบ Service Plan เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำในอนาคตทุกราย
References
2.ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2558). ระบบการชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขโดยไม่พิสูจน์ความผิด. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 1(1).60-75.
3.ธิดารัตน์ ขาวเงินยวง. (2558) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการพิจารณาการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 1(3) 196-207.
4.บุญศักดิ์ หาญเทอดสิทธิ์. (2554). ครบรอบ 7 ปี การพิจารณาเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 ในจังหวัดลำพูน : ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 20(6). 971-981.
5.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์, บุศราพร เกษสมบูรณ์ , ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย, และอมร เปรมกมล. (2553) การวินิจฉัยภาวะไม่พึงประสงค์จากการบริการทางการแพทย์ เพื่อการจ่ายชดเชย.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 4(1). 82-88.
6.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2555). รายงานประจำปี 2555 การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด
7.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2556). รายงานประจำปี 2556 การสร้างหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :บริษัทสหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด
8.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). รายงานประจำปี 2557 การสร้างหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :บริษัทสหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด
9.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). รายงานประจำปี 2558 การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :บริษัทสหมิตรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิสซิ่ง จำกัด
10.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). รายงานประจำปี 2559 การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :บริษัทเอบิช อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด
11.สิทธิพร ขันธพร. (2556). ปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับ ความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.