การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบบริการสุขภาพสาขาหัวใจในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงราย ปีงบประมาณ 2559

ผู้แต่ง

  • มาลีวัลย์ ศรีวิลัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
  • พิษณุรักษ์ กันทวี สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ระบบบริการสุขภาพสาขาหัวใจ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลของการพัฒนารูปแบบการดำเนินการ สุขภาพสาขาหัวใจในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงรายโดยเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Methodology)กลุ่มประชากรศึกษาคือ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 216 แห่ง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาประชากร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.4 อายุเฉลี่ย 40 ปีระดับการศึกษาใน ระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานในวิชาชีพโดยเฉลี่ย 18 ปี ปฎิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 89.8 ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพยาบาลเวชปฎิบัติร้อยละ77.8 ปฎิบัติงานในตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ เฉลี่ย8 ปีได้รับการฝึกอบรมหรือประชุมเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบสุขภาพสาขาโรคหัวใจ/การให้การ ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจร้อยละ26.4 และประสบการณ์ระยะเวลาในการปฎิบัติงานในสาขาวิชาชีพแตกต่าง กัน ไม่มีผลต่อการเพิ่มระดับความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านรักษาพยาบาลใน รพ.สต.ส่วนบุคลากรที่มีประสบการณ์ระยะเวลาในการปฎิบัติงานต่างกันไม่มีผลต่อความสามารถในการ ให้บริการแก่ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านรักษาพยาบาลใน รพ.สต.จากการสนทนา กลุ่มพบว่าการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบบริการสุขภาพสาขาหัวใจในโรงพยาบาลส่งเสริมสุข ภาพตำบลโดยการพัฒนาจากคู่มือแนวทางในการรักษาพยาบาลและดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจตามมาตรฐาน ระบบบริหารจัดการ Service Plan ด้วยระบบการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ (ระบบ พบส.) โดยกำหนดให้โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายในการพัฒนาสร้างคู่มือ และแนวทางในการปฎิบัติดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งจนทำให้เกิดเป็นแนวทางปฎิบัติในการดำเนินงานดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจในชุมชน และรูป แบบในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจในชุมชน รวมไปถึงการจัดระบบการส่งต่อและการให้คำปรึกษาเมื่อ แรกรับผู้ป่วยในพื้นที่ซึ่งส่งผลให้ลดอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและลดการสูญเสียภาระค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษาพยาบาล ข้อเสนอแนะควรมีการพัฒนาผลักดันให้เกิดแนวทางเชิงนโยบายผลักดัน ให้เกิดการทำงานรูปแบบเครือข่ายระบบบริการสุขภาพได้อย่างมีมาตรฐานการให้บริการผู้ป่วยโรคหัวใจ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2553). การจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ทัศนีย์ วงศ์เกษมศักดิ์. (2551). ปัจจัยทำนายความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันสุขภาพเด็ก แห่งชาติมหาราชินี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ พยาบาลเด็ก), มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุพิน สุขเจริญ และขวัญดาว กล่ำรัตน์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติงานตามสรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม. วารสารมหาวิทยาลัย นราธิวาสราชนครินทร์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(2), 14-26.

สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาหัวใจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สิริลักษณ์ อยู่เย็น. (2550). การปฏิบัติงานตามสรรถนะพยาบาลวิชาชีพของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ของรัฐ จังหวัดสมุทรสาคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Kaplan, R. S., Norton, David P. (1996). Using the Balanced Scorecard as a Strategic Management System: Harvard Business Review.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป