การพัฒนารูปแบบระบบฐานข้อมูลสาธารณสุข จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • มาลีวัลย์ ศรีวิลัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ระบบฐานข้อมูลสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนารูปแบบระบบฐานข้อมูลสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ที่ประกอบด้วย 1) การจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (43 แฟ้ม) ตามมาตรฐานโครงสร้าง ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขระดับอำเภอ(ศูนย์ข้อมูลอำเภอ) ให้มีบทบาทในการติดตาม ตรวจสอบ ความถูก ต้องและครบถ้วนของข้อมูลจากหน่วยบริการและให้มีระบบฐานข้อมูลในศูนย์ข้อมูลระดับอำเภอที่สามารถ นำมาใช้ในการควบคุม กำกับและประเมินผลการดำเนินงานในระดังอำเภอและตำบลได้ 2)การวิเคราะห์ชุด คำสั่งของระบบประมวลผลและรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำมาใช้ ในการตรวจสอบ ความครบถ้วน ถูกต้อง ของการบันทึกข้อมูลของหน่วยบริการ ผลการพัฒนาพบว่าความถูกต้องของการจัดเก็บและการบันทึกข้อมูลเพิ่มขึ้นร้อยละ7.07ความครบถ้วน ของการจัดเก็บและส่งระบบฐานข้อมูลของหน่วยบริการไปยังศูนย์ข้อมูลอำเภอ พบว่าหน่วยบริการดำเนิน การจัดเก็บและส่งระบบฐานข้อมูลไปยังศูนย์ข้อมูลอำเภอครบทุกแห่ง สำหรับความครบถ้วนของการส่งระบบ ฐานข้อมูลพบว่า หน่วยบริการสามารถส่งแฟ้มระบบฐานข้อมูลได้31 แฟ้ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.82 ส่งได้ 26-30 แฟ้ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.80 และส่งได้21-25แฟ้ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.41 ทั้งนี้หลังการเปลี่ยนรูปแบบ ระบบฐานข้อมูลไม่พบการส่งแฟ้มระบบฐานข้อมูลที่น้อยกว่า 15แฟ้ม สำหรับความทันเวลาของการจัดเก็บ และส่งระบบฐานข้อมูลของหน่วยบริการเพิ่มมากขึ้นร้อยละ0.43ความพึงพอใจต่อกาดำเนินงานพัฒนารูป แบบระบบฐานข้อมูลของผู้บริหาร คณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพและผู้รับผิดชอบงานระบบฐาน ข้อมูลในระดับหน่วยบริการอยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05)การ พัฒนารูปแบบระบบฐานข้อมูลในครั้งนี้ก่อให้เกิดศูนย์ข้อมูลอำเภอที่มีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบ ควบคุม กำกับและประเมินผลคุณภาพข้อมูลในระดับอำเภอให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และมีการ บูรณาการ การใช้ประโยชน์ข้อมูลสุขภาพร่วมกันทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ข้อเสนอแนะ ควรมีการ กำหนดนโยบายให้ผู้บริหารระดับอำเภอสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลอำเภอและมีการใช้ข้อมูล และสารสนเทศจากศูนย์ข้อมูลอำเภอในการควบคุม กำกับ และประเมินผลงานของหน่วยบริการ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บและจัดส่งข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐานข้อมูลด้าน สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข Version 2.1 (มกราคม 2559) ปีงบประมาณ 2559. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส พีก็อปปี้ปริ้น.

คณะทำงานพัฒนาโปรแกรมคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ความเป็นมาของระบบคลัง ข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ Health Data Center : HDC.การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบ Health Data Center (HDC on Cloud) ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข (สำหรับผู้ดูแลระบบ); 27-29 กรกฎาคม 2559; Data Center อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์; 2559.

จารุกิตติ์ นาคคำ. (2556). ปัจจัยบริหารที่มีผลต่อรายงานข้อมูลสุขภาพระดับปฐมภูมิของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น,ขอนแก่น.

จตุพล จิตติยพล. (2554). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลคลินิกเฉพาะทางโรคข้อและภูมิแพ้โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น .วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้า,ธนบุรี.

ไพบูลย์ เกียรติโกมล และ ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพมหานคร:ซีเอ็ดยูเคชั่น. เรวดีวงษ์สุวรรณ์. (2554). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.

เอ็ม สายคำหน่อ. (2557). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยเพื่อช่วยในการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจคณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป