การประเมินตัวชี้วัดความพึงพอใจ: แนวทางการบริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชนด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำหรับ 8 จังหวัดภาคเหนือ
คำสำคัญ:
ผลิตภัณฑ์หลัก, แนวทาง, ความพึงพอใจ, โรคเอดส์, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ประโยชน์จาก “แนวทางการบริการที่เป็นมิตรสำหรับเยาวชนด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำหรับ 8 จังหวัดภาคเหนือ ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่” และนำข้อเสนอแนะเพื่อทำการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ การศึกษาใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ประกอบด้วย โรงพยาบาลที่มีคลินิกรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่เคยทราบ/เคยได้ยิน/เคยเห็น และเคยใช้/เคยอ่าน แนวทางฉบับนี้ฯ ร้อยละ 64.29 และร้อยละ 50.00 ตามลำดับ ช่องทางที่ได้รับเอกสาร มากที่สุดคือทางไปรษณีย์ ร้อยละ 78.57 รองลงมา ได้รับจากการเข้าร่วมอบรม/ประชุม ร้อยละ 35.71 โดยได้นำแนวทางฯไปใช้ประโยชน์มากที่สุดในการใช้เป็นแนวทางในการทำงานและใช้ในการอ้างอิง ร้อยละ 64.29 และ 35.71 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อแนวทางฯ สูงสุดในด้านเนื้อหาได้แก่ มีความถูกต้องตามหลักวิชาการ ในระดับมาก (ร้อยละ 57.14) ด้านประโยชน์ของแนวทางฯ ได้แก่ ประโยชน์ที่ได้รับในปัจจุบัน ในระดับมาก (ร้อยละ 57.14) ด้านรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ขนาดรูปเล่ม ในระดับมาก (ร้อยละ 42.86)
References
สรชัย พิศาลบุตร. (2549). สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์ จำกัด.
Donabedian, A. (1988). The quality of care: How can it be assessed?. JAMA. 121(11). 1145-1150.
Aday, L. A., Andersen. R. (1978). Access to medical care in the U.S.: realized and potential. Med Care. 16(7):533-46.
Anderson, E. W. (1994). Cross-category variation in customer satisfaction and Retention. Marketing Letters. 5:185-204.
Hart, M. 1995). Improving out-patient clinic waiting times: methodological and Substantive issues. International Journal of Health Care Quality Assurance. 8 : 14-22.
Leddy, K. M., Kaldenberg, D. O., and Becker, B.W. (2003). Timeliness in ambulatory care treatment. An examination of patient satisfaction and wait time in medical practices and outpatient test and treatment Facilities. Journal Ambul Care Management. 26