การติดตามหาความผิดปกติของเซลขูดปากมดลูกที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกในสตร ที่ให้ผลบวกจาก HPV E6/E7 mRNA test ในจังหวัดเชียงใหม่โดยใช้วิธี pap smear
คำสำคัญ:
Pap smear, HPV E6/E7 mRNA test, เซลขูดปากมดลูก มะเร็งปากมดลูกบทคัดย่อ
มะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์ตรวจพบมากที่สุดในประเทศไทย การตรวจคัดกรองที่ประยุกต์ใช้ ใช้การวัด การแสดงออกของยีน E6 และ E7 ของเชื้อ Human papilloma viruses (HPV E6/E7 mRNA test) สามารถ บ่งชี้ถึงความเสี่ยงโรคมะเร็งก่อนที่เซลล์พัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็ง (pre-cancerous) ผลการวิจัยระยะที่ 1ได้ศึกษา ความสัมพันธ์ของ HPV E6/E7 mRNA test กับ วิธี Pap smear ในหญิงอาชีพขายบริการ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 ราย พบว่าให้ผล pap smear ผิดปกติทั้งสิ้น 5 ราย และให้ผล HPV E6/E7 mRNA สูงเกินค่าปกติ 33 ราย ซึ่งไม่พบความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างการตรวจทั้งสองวิธี วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามความผิดปกติของเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูกในสตรีที่ให้ผลบวก จาก HPV E6/E7 mRNA test ในการศึกษาปี พ.ศ. 2555 ด้วยวิธี pap smear เพื่อประเมินความเสี่ยงของเซลล์ ที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่มี HPV E6/E7 mRNA สูงกว่าปกติ วิธีการศึกษา เก็บตัวอย่างเซลล์ขูดปากมดลูกในชุดเก็บรักษาเซลล์ชนิดของเหลว ณ งานสาธิตบริการกามโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่ นำส่งตรวจด้วยวิธี pap smear ที่ภาควิชาพยาธิวิทยา แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้สถิติ Chi – square ในการทดสอบสมมุติฐาน ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ การแสดงออกของ HPV E6/E7 mRNA ในเซลล์ตัวอย่างขูดปากมดลูกกับวิธี pap smear ผลการศึกษา ตัวอย่างเซลล์ส่งตรวจในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มให้ผลทดสอบหาความผิดปกติของเซลล์ที่จะ พัฒนาเป็นมะเร็งได้เป็นปกติเหมือนกันทุกราย สรุป วิจารณ์ ข้อเสนอแนะ การแสดงออกของ E6/E7 mRNA สัมพันธ์กับความผิดปกติของเซลล์ แต่ระยะ เวลาในการพัฒนาทำให้เซลล์เกิดเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะก่อนมะเร็ง (HSIL) และมะเร็ง ใช้เวลาแตกต่างกันตั้งแต่ 2-10 ปี ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายกลไกได้ การติดตามกลุ่มเสี่ยงด้วย Pap smear ใ นการศึกษาครั้งนี้ใช้เวลา 1 ปี จึงควรมีการติดตามอาสาสมัครกลุ่มเสี่ยงต่อไป
References
เจียรนัย ขันติพงศ์. ความสัมพันธ์ของ HPV E6/E7 mRNA ในเซลขูดปากมดลูกกับพยาธิสภาพที่สัมพันธ์ ปากมดลูกในหญิงอาชีพขายบริการในเขตเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วารสารควบคุมโรค,2556:101-109
Arbyn M, Kyrgiou M, Simoens C, Raifu AO, Koliopaulos G, et al. (2008) Perinatal mortality and other severe adverse pregnancy outcomes associated with treatment of cervical intraepithelial neoplasia: meta analysis. BMJ 337: a 1284.
Arbyn M. Simoens C, Goffin F, Nochr B, Bruinsma F Treatment of cervical cancer precursors: influence of age, completeness of excision and cone depth on therapeutic failure, and on adverse obstetric outcomes. BJOG 118,2011:1274-5.
Fiedler M. et al. High level HPV-16 E7 oncoprotein expression correlates with reduced pRb-levels in cervical biopsies. The FASEB Journal July,2004: . (Vol. 18): 1120-22.
Hamid NA, Brown C, Gaston K. The regulation of cell proliferation by the papillomavirus early proteins. Cell Mol Life Sci,200966(10):1700-17.