ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ ทฤษฎีการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • เพชรสุดา เริงจารุพันธ์ โรงพยาบาลดารารัศมี จ. เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โปรแกรมสุขศึกษา, การดูแลตนเอง, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยความ ดันโลหิตสูง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา ที่มีต่อความรู้และพฤติกรรมใน ตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว วัดสอ และหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเกณฑ์คือ ได้รับกา วินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีค่าความดันโลหิต  Systolic  มากกว่าหรือเท่ากับ 140 mm  และมีค่าความดันโลหิต  Diastolic  มากกว่าหรือเท่ากับ  90  mmHg โปรแกรมสุขศึกษาประกอบด้วยการสอน สุขศึกษา เรื่องความดันโลหิตสูง เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการดูแลตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรร ตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด การงดหรือลดปริมาณการ สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานยาอย่างถูกต้อง และการตรวจตามนัด ภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเอง และเครื่องวัดความดันโลหิต เก็บข้อมูลก่อนการทดลองและ หลังการทดลอง 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอ้างอิงโดยใช้  dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนก ทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษานี้แสดงว่าโปรแกรมสุขศึกษา มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้น

References

ขนิษฐา ปาสุวรรณ. 2547. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสระบุรี. ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชา สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

จันทร์เพ็ญ สันตวาจา. 2548. แนวคิดพื้นฐาน ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ธน ประวิชช์ ตันประเสริฐ. 2547. ข้อแนะนำการออกกำลังกายสาหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เพ็ญแข แดงสุวรรณ. 2550. Stroke ฆาตกรเงียบ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: ใกล้หมอ.

เพ็ญศรี สุพิมล. 2552. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงอาย อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร. ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. 2552. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

รุ้งระวี นาวีเจริญ. 2552. ความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์สุขภาพ.

รุ้งราวรรณ พันธจักร. 2549. ผลการจัดโปรแกรมสุขศึกษาที่มีต่อความรู้ การรับรู้และพฤติกรรม การดูแลตนเองของ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลพยุหะคีรี. ปริญญาครุศาสตร์มหาบั การส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎ นครสวรรค์.

วาสนา จันทร์สว่าง. 2550. การสื่อสารสุขภาพ: กลยุทธ์ในงานสุขศึกษาและการสร้างเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2553. รายงานประจ ำปี 2552. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะ ทหารผ่านศึก.

Anderson, C. S., Linto, J., & Stewart-Wynne, E. G. 1995.A population-based assessment of the impact and burden of caregiving for long-term stroke survivors. Stroke,26, 843-849.

Goldstein, L. B. et al. 2001. Primary prevention of ischemic stroke: A statement for healthcare professionals from the Stroke Council of the American Heart Association. Stroke, 32, 280-299.

Harmsen, P., Lappas, G., Rosengren, A., &Wilhelmsen, L. 2006. Long-term risk factors for stroke: Twenty-eight years of follow–up of 7457 middle-aged men in Goteborg, Sweden. Stroke, 37, 1663-1667.

National Stroke Association.Stroke Prevention Guidelines.[Online]. Available: http://www.stroke.org/ site/PageServer?pagename=PREVENT.

Orem, D.E. 1980. Nursing: Concepts of practice.2nd ed. New York: McGraw-Hill Book Co. 1995.Nursing:Concepts of practice.St. Louis: Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-22

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป