การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • นุชรี จันทร์เอี่ยม โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • ศรีวรรณ เรืองวัฒนา โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • มาลีวรรณ เกษตรทัต โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • ศศิธร พิชัยพงศ์ โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • แสงอรุณ ใจวงศ์ผาบ โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบการพยาบาล, ผู้ป่วยแผลเรื้อรัง, โรงพยาบาลลำพูน

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยแผลเรื้อรังของ โรงพยาบาลลำพูน โดยใช้กรอบแนวคิดเชิงระบบของโดนาบีเดียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ทีมสุขภาพที่ให้การดูแลแผลเรื้อรัง จำนวน 112 ราย และผู้ป่วยแผลเรื้อรัง จำนวน 622 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลำพูน ระหว่าง 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2560 ดำเนินการพัฒนาเป็น 4 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินและติดตามการหายของแผลแบบประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการ และแบบประเมินความพึงพอใจผู้ให้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา   การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง เริ่มต้นด้วยการจัดตั้งและประชุมคณะกรรมการ  เพื่อทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน วางแผนพัฒนางานร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมสุขภาพ คัดเลือกพยาบาลวิชาชีพของแต่ละหน่วยงานเพื่อเป็นแกนนำในการดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง จัดตั้งห้องทำแผล พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง และการบรรเทาความเจ็บปวดพัฒนาการสื่อสารแก่เครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยแผลเรื้อรัง สื่อสารโดยการใช้กลุ่ม line และพัฒนาระบบสารสนเทศให้ทันสมัยใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว   ผลการวิจัยพบว่าหลังการนำระบบที่พัฒนาไปใช้พบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบแต่ละระยะการพัฒนาดังนี้ 1) ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลลดลง คิดเป็นร้อยละ 5.29, 5.02, 5.00 และ 4.98 ตามลำดับ 2) การกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วันลดลง คิดเป็นร้อยละ1.45, 0.88, 0.86 และ 0.52 ตามลำดับ 3) ไม่มีอัตราตายในผู้ป่วยแผลติดเชื้อชนิดรุนแรง  4) การหายของแผลดีขึ้น ร้อยละ 85.21, 90.00, 93.55 และ 97.10 ตามลำดับ 5) ค่าใช้จ่ายในการให้บริการมีสัดส่วนที่ลดลงจากเดิม ร้อยละ 25.92, 23.40, 21.78 และ 20.60 ตามลำดับ และ 6) ความพึงพอใจของผู้ป่วยแผลเรื้อรังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 2.70, S.D. = 0.45)   ด้านผู้ให้บริการ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ให้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 2.80, S.D. = 0.48)

References

ธนิต วัชรพุกก์. (2550). Wound healing and wound care. ใน: ทวีสิน ตันประยูร, สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ และพัฒน์พงศ์ นาวีเจริญ บรรณาธิการ. ตำราศัลยศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ปรีชาธรอินเตอร์พริ้น, 94–106.

ศจีมาศ อุณหะจิรังรักษ์, สิรินาฎ ทิพย์มูสิก และเฉลิมวรรณ ปิ่นแก้ว. (2555). การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแผลเรื้อรังในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคีด้านสุขภาพ เครือข่ายโรงพยาบาลอินทร์บุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(2), 1–10.

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลลำพูน. (2558). สถิติผู้เข้ารับบริการที่มีแผลเรื้อรังในโรงพยาบาลลำพูน ปี 2558: โรงพยาบาลลำพูน.

สมบูรณ์ ชัยศรีสวัสดิ์สุข. (2551). Basic wound healing: acute wound. ใน: พรพรหม เมืองแมน, จอมจักร จันทรสกุล และพรเทพ เปรมโยธิน บรรณาธิการ. Update on wound care 2008. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร, 1–17.

อำนวยพร มหาวิไล และยุคลธร จิตรเกื้อกูล. (2553). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารกองการพยาบาล. 37(3), 92–106.

Craven, R. F., & Hirnle, C. J. (2009). Fundamentals of nursing: human health and function. 6thed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Donabedian, A. (1966). Evaluating the quality of medical care. The Milbank memorial fund quarterly, 44(3), 166-206.

Vowden, K. & Vowden, P. (2014). Wound dressings: principles and practice 2014. Surgery, 32(9), 462-467. Available from: URL: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0263931914001410

National Pressure Ulcer Advisory Panel. (1998). Pressure Ulcer Scale for Healing [PUSH tool version 3.0]. [cited 2019 March 15]; Available from: URL: https://www.sralab.org/sites/default/files/2017-06/push3.pdf

Price, M. C., Whitney, J. D., & King, C. A. (2005). Development of a risk assessment tool for intraoperative pressure ulcers. Journal of Wound Ostomy & Continence Nursing, 32(1), 19-30. [cited 2019 March 15 ]; Available from: URL: https://journals.lww.com/jwocnonline/Abstract/2005/01000/Development_of_a_Risk_Assessment_Tool_for.6.aspx

Taylor, C. R., Lillis, C., LeMone, P., & Lynn, P. (2008). Fundamentals of nursing: The art and science of nursing care. 6thed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป