ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินคดีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุข และเครื่องสำอางของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อิศรา นานาวิชิต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ, ผลิตภัณฑ์สุขภาพ, อาหาร, เครื่องสำอาง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเจ ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการดำเนินคดีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพด้านอาหารและเครื่องสำอางของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่โดยทำการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์ตัวแทนจากบุคลากรที่ปฎิบัติงานในกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัช สาธารณสุขซึ่งเป็นผู้ปฎิบัติงานในงานควบคุมกำกับมาตรฐานของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพหลังออกสู่ตลาดจำนวน10 คน โดยใช้ทฤษฎีบริหารโครงร่างการทำงาน 7S ของ McKinsey ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยความ สำเร็จในการดำเนินคดีที่ผ่านมา3อันดับแรกคือลักษณะแบบแผนหรือพฤติกรรมในการบริหารงานของผู้บริหาร ระดับสูง(Style) ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5 สมาชิกในองค์กร (Staff) ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.9 และระบบ ในการดำเนินงานขององค์กร (System) ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 ในส่วนปัญหาในการดำเนินคดีที่สำคัญคือ จำนวนบุคลากรที่มีความพร้อมในการดำเนินคดีมีจำนวนไม่เพียงพอกับภาระงานโดยพนักงนเจ้าหน้าที่บางส่วน ยังขาดความมั่นใจในด้านกฎหมายและเรื่องร้องเรียนนั้นมีความยุ่งยากซับซ้อนต้องใช้ทรัพยากรทั้งบุคลากรเงิน และอุปกรณ์ในการสืบหาข้อเท็จจริงเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานในการดทั้งนี้แนวทางการแก้ไขคือ ดำเนินคดี สนับสนุนด้านแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลในการส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในการเข้ารับการอบรมพัฒนาศักย เจ้าหน้าที่ด้านการดำเนินคดีการสร้างเครือข่ายเรื่องร้องเรียนระดับอำเภอและจัดโครงสร้างองค์กรให้มีผู้ประสาน งานเรื่องร้องเรียนที่ชัดเจน

References

พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์ และ พสุ เดชะรินทร์. การจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ.คณะพาณิชยศาสตร์และ.การบัญชี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542:161-166.

วทัญญู ประยูรหงส์ และวรรณพร แพทย์เกาะ.การตรวจสอบฉลากและสารอันตรายในเครื่องสำอางเพื่อผิวกายขาว ในเขตตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รายงานการศึกษาอิสระ.ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต. คณะเภสัชศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

สลิลลา ขันทะฮ้อ.ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล:กรณีศึกษาโรงพยาบาลเชียงราย ประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;254

สาธารณสุข,กระทรวง. ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา..; 2553(5).

อัมพร ค้าไม้ .การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฎิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาลดอยสะเก็ด.จังหวัดเชียงใหม่. ระดับชำนาญการพิเศษ; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป