พฤติกรรมเสี่ยงต่อไข้มาลาเรียของนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติในพื้นที่ท่องเที่ยว ภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นารถลดา ขันธิกุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • วรรณภา สุวรรณเกิด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยง, ไข้มาลาเรีย, นักท่องเที่ยว, พื้นที่แพร่เชื้อมาลาเรีย

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional

study) โดยใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยวในพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 10 หมู่บ้านเป้าหมายในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 373 คน ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดย Univariate analysis และ Multiple logistic regression ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 56.6 นักท่องเที่ยวคนไทย ร้อยละ 43.4 เคยได้ยิน/รับทราบเกี่ยวกับไข้มาลาเรีย ร้อยละ 66.0 โดยรับทราบจากแพทย์มากที่สุด ร้อยละ 43.2 และมีนักท่องเที่ยวกินยาป้องกันมาลาเรีย ร้อยละ 66.0 โดยรับทราบจากแพทย์มากที่สุด ร้อยละ 43.2 และมีนักท่องเที่ยวกินยาป้องกันมาลาเรีย ร้อยละ 12.9 โดยซื้อยาจากร้านขายยาในต่างประเทศ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องไข้มาลาเรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) คือ เชื้อชาติ การได้ยินเกี่ยวกับยาป้องกัน และการกินยาป้องกันไข้มาลาเรีย นักท่องเที่ยวไทยมีระดับความรู้ดีกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของไข้มาลาเรีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)  คือ การเคยได้ยินและรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับมาลาเรียมาก่อนผู้ที่มีระดับความรู้ดี ไม่ได้กินยาป้องกันมาก่อน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการป่วยเป็นไข้มาลาเรียของนักท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) คือ อายุ เชื้อชาติและอาชีพหลัก นอกจากนี้พบว่า นักท่องเที่ยวคนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นไข้มาลาเรียมากกว่านักท่องเที่ยวต่างชาติ 2.08 เท่า (Adjusted OR = 2.08, 95% CI= 1.08 - 4.03) ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขเพื่อการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรดำเนินการสื่อสารกับประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการลดโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นไข้มาเลเรีย และให้มีความรู้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการป้องกันตนเองจากไข้มาลาเรียต่อไป

References

กองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. มาลาเรียวิทยา 2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2543.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. รายงานประจำปี 2549 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2549.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. แผนปฏิบัติการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัลซา, 2544.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการรักษาไข้มาลาเรียชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน ฉบับ พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด, 2551.

Asking HH, Nilsson J, Tegnell A, Janzon R, Ekdahl. Malaria Risk in Travelers. Emerging Infectious Disease 2005; 11 (3): 436 - 41.

Behrens RH, Curtis CF. Malaria in Travelers: Epidemiology and Prevention. British Medical Bulletin 1993; 49 (2): 363 - 81.

Butraporn P, Prasittisuk C, Krachaiklin S, Chareonjai P. Behaviors in self-prevention of malaria amongmobile population in East Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1995; 26: 213 - 8.

Butraporn P, Sornmani S, Hungsapruek T. Social behavioral, housing factors and their interactiveeffects associated with malaria occurrence in east Thailand. Southeast
Asian J Trop MedPublic Health 1986; 17: 386 - 92.

Castelli E, Matteelli A, Caligaris S, Gulletta M, El-Hamad I, Scolari C, Malaria in Migrants.1999; 41: 261- 65.

Center of Disease Control (CDC). Health Information for International Health, 2005-2006.

Department of Health and Human Service, Public health Service, Georgia, USA., 2005.

Childs DZ, Cattadori IM, Suwonkerd W, Prajakwong S, Boots M. Spatiotemporal patterns of malariaincidence in northern Thailand. Trans R Soc Trop Med Hyg 2006: 100; 523 - 31.

Freedman DO, Weld LH, Kozarsky PE, Fisk T, Robins R, von Sonnenburg F, Keystone JS, Pandey P, and Cetron MS. Spectrum of disease and relation to place of exposure
among Illreturned travelers. N Engl J Med. 2006 Jan 12; 354 (2): 119 - 30.

Hamer DH, and Coner BA. Travel Health Knowledge, Attitudes and Practices among United StatesTravelers 2004; 11: 23-26.

Health Protection Agency. Guidelines for malaria prevention in travelers from the United Kingdom.: Chlorine-free paper, 2007.

Lemeshow S, Hosmer DW, Klar J,and Lwanga SK. Adequacy of Sample Size in Health Studies. World Helth Orgamization. John Willey and Sons Ltd., 1990.

Orem, DE. Nursing Concepts of Practise. 3rded. New York : McGrew HillCo., 1985.

Overgaard H, Tsuda Y, Suwonkerd W, and Takagi M. Characteristic of Anopheles minimus Theobald (Diptera: Culicidae) larval habitats in northern Thailand. Environmental
Entomology2002; 31 (1): 134 - 41.

Phillips-HowardP. A., Radalowicz A., Mitchell J. and Bradley D. J. Risk of malaria in British residents returning from malarious areas. BMJ 1990: 300(6723); 499-503.

Piyaphanee W, Krudsood S, Silachamroon U, Pornpininworakij K, Danwiwatdecha P, ChamnachananS, Wilairatana P, and Looareesuwan S. Travelers’ malaria among
foreigners at the Hospital forTropical Disease, Bangkok, Thailand– a 6-year review (2000-2005) 2006; 3: 229 - 32.

Piyaphanee W, Wattanagoon Y, Silachamroon U, Mansanguan C, Wichianprasat P, Walker E.Knowledge, attitudes, and practices among foreign backpackers toward malaria risk in southeast Asia. J Travel Med 2009; 16 (2): 101-6.

Somboon P, Aramrattana A, Lines JD, and Webber R. Entomological and epidemiological investigations of transmission in relation to population movements in forest areas of north-west Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1998; 29 (1): 3-9.

Steffen R, Heusser R, Mächler R, Bruppacher R, Naef U, Chen D, et al. Malariachemoprophylaxis among European tourists in tropical Africa: use, adverse
reactions, and efficacy. Bulletin of the World Health Organization 1990; 68(3): 313-22.

Suwonkerd W, Overgaard H, Tsuda Y, Prajakwong S, and Takagi M. Malaria densities in transmission and non-transmission areas during 23 years and land use in Chiang Mai province, Northern Thailand. Basic and Applied Ecology. 2002; 3 (3): 197- 207.

Suwonkerd W, Tsuda Y, Overgaard HJ, et al. Changes in Malaria Vector Densities over a Twenty-Three Year Period in Mea Hong Son Province, Northern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2004: 35 (2); 316 - 24.

U.S.Department of Health and Human Services. “Recommendations for the Prevention of Malaria among Travelers”in Morbidity and Mortality Weekly Report. The
Massachusetts Medical Society, 1990. p.1-10.
Van Benthem BHB, Khantikul N, Panart K, Somboon P, and Oskam L. Knowledge and use of prevention measures against malaria in endemic and non-endemic villages in northern Thailand. Asian J Trop Med Public Health 2006; 37 (2): 243-9.

Van Herck K, Van Damme P, Castelli F, Zuckerman J, Nothdurft H, Dahlgren AL, et al. Knowledge, attitudes andpractices in travel-related infectious diseases: the European
airport survey. J Travel Med 2004; 11 (1): 3-8.

Wetsteyn J.C.F.M. and Geus DA. Chloroquineresistant falciparum malaria imported into theNetherlands. Bulletin of the World Health Organization 1985; 63 (1): 101-08.

Wernsdorfer WH. The development and spread of drug-resistant malaria. Parasitology today 1991; 7 (11): 297-303.

Wilder-Smith A, Khairullah NS, Song JH, Chen CY, and Torresi J. Travel health knowledge,attitudes and practices among Australasian travelers. J Travel Med 2004; 11 (1): 9-15.

World Health Organization. The world health report 2002 - Reducing Risks, Promoting Healthy Life. Available from: URL:http://www.who.int/whr/2002/en. Accessed on
January 25, 2009.

World Health Organization. World Malaria Report 2008. World Health Organization and UNICEP, Geneva. 2005. http://malaria.who.int/wmr2008/malaria 2008.pdf. Accessed
on January 25, 2009.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-03-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป