การจัดบริการปรึกษาตรวจเลือดเอชไอวีเชิงรุกในชุมชนแบบแจ้งผลวันเดียวกัน

ผู้แต่ง

  • ชลลิสา จริยาเลิศศักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่
  • สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

บริการปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวี

บทคัดย่อ

         การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดบริการการปรึกษาตรวจเลือดเอชไอวีเชิงรุกในชุมชุนแบบแจ้งผลในวันเดียวกัน และอัตราการติดเชื้อพร้อมทั้งพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีของผู้มารับบริการ ผลการศึกษาพบว่าการจัดบริการ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบคือ การขับเคลื่อนชุมชน การจัดหน่วยเคลื่อนที่ให้การปรึกษาตรวจเลือดเอชไอวีในชุมชนและกระบวนการรองรับหลังการตรวจเลือด ด้านการขับเคลื่อนชุมชน มีรูปแบบคือ ทีมเจ้าหน้าที่ให้ความรู้เชิงรุก การใช้เครือข่ายอาสาสมัคร และการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ด้านการจัดหน่วยเคลื่อนที่เป็นจัดบริการแบบนิรนาม ไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยใช้แนวทางการปรึกษาเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงและชุดตรวจแบบรู้ผลเร็วโดยแจ้งผลในวันเดียวกัน ด้านกระบวนการรองรับหลังการตรวจเลือด ประกอบด้วย การอบรมการจัดการกับความเครียด การให้ข้อมูลกลุ่ม การอบรมเพื่อลดการรังเกียจตีตรา กิจกรรมด้านสังคม การปรึกษาและการส่งต่อ

          จากผู้รับบริการ 18,835 ราย สมัครใจตรวจเลือด ร้อยละ 96.52 มาฟังผลการตรวจ ร้อยละ 98.96 พบการติดเชื้อ ร้อยละ 1 ได้รับการส่งต่อ 152 ราย และไม่พบผลกระทบที่ร้ายแรงใดๆ ทั้งขณะจัดบริการ และหลังการจัดบริการพฤติกรรมเสี่ยงที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ การมีประวัติโรคทางเพศสัมพันธ์ ใช้ยาเสพติด และใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด องค์ประกอบหลักที่มีผลต่อการตัดสินใจรับบริการประกอบด้วย เหตุผลเฉพาะบุคคล และรูปแบบบริการ เหตุผลเฉพาะบุคคล จำแนกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความเสี่ยงจากเพศสัมพันธ์ กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการทำงาน กลุ่มที่ตรวจซ้ำเพื่อเพิ่มความมั่นใจว่ายังไม่ติดเชื้อ กลุ่มที่ตรวจเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น กลุ่มที่คิดว่าถูกเพื่อนบ้านสงสัยว่าติดเชื้อจึงตั้งใจตรวจเพื่อให้คนเห็น กลุ่มที่ตัดสินใจตรวจหลังจากได้รับข้อมูลเรื่องเอดส์มากขึ้น สำหรับรูปแบบบริการที่จูงใจ คือใกล้บ้าน ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย เจาะเลือดจำนวนน้อย บริการนอกเวลาทำงาน ทราบผลในวันเดียว และสารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ง่าย

          ผู้มารับบริการที่ติดเชื้อ ร้อยละ 48.26 มีความกังวลเรื่องการถูกรังเกียจ ร้อยละ 12.21 กังวลเรื่องสัมพันธภาพที่ไม่ดีกับผู้อื่น ร้อยละ 9.30 กังวลเรื่องการบอกผลเลือด และร้อยละ 4.07 กังวลเรื่องถูกไล่ออกจากงานในผู้รับบริการทั่วไป ประเด็นที่มีความกังวล ได้แก่ กังวลจากการเข้ารับบริการ การถูกตีตราเรื่องอาชีพพนักงานบริการและการที่ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยการจัดการกับความเครียดและการเผชิญกับการถูกตีตรา ที่ใช้คือการไม่ให้ความสำคัญกับปฏิกิริยาลบ การไม่โต้ตอบ การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การหาความรู้เพิ่มเติมและการยอมรับความเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้

References

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. แผนยุทธศาสตร์บูรณาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2550-2554. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, 2555.

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. ยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. มปป, 2555.

ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดเชียงใหม่. ยุทธศาสตร์การป้องกันแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2550-2554. เฟื่องฟ้าการพิมพ์, 2550.

สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, เพชรัตน์ ศิริสุวรรณ, กนกศักดิ์ วงศ์เป็ง, กิติยา พรมอ่อน, สิทธิกร รองสำลี. การประเมินระบบบริการของผู้ที่นับยาต้านไวรัสเอดส์ ภายใต้ระบบประกันสุขภาพ ประเทศไทย. กรุงเทพฯ: 2552.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2555 การบริหารงบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์และการบริหารงบบริการผู้ป่วยวัณโรค. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์, 2555.

CDC. Missed opportunities for earlier diagnosis of HIV infection-South Carolina, 1997-2005. Mmwr 2006 55: 1269-72.

CDC. Revised recommendations for HIV testing of adult, adolescents, and pregnant woman in health-care setting. MMWR RecommRep 2006; 22; 55(RR14): 1-17.

IHPP. Demand for voluntary counseling and testing and antiretroviral treatment program. Nonthaburi: 2006.

Jenkins T, Gardner E, Thrun M, Cohn D, Burman W. Risk-based human immunodeficiency virus (HIV) testing fails to detect the majority of HIV-infected persons in medical care settings. Sexuallytransmitted diseases 2006; 33: 329-33.

Marks G, Crepaz N, Senterfitt J, Janssen R. Meta-analysis of high-risk sexual behavior in persons aware and unaware they are infected with HIV in the United States:
implications for HIV prevention programs. J Acquir Immune Defic Syndr 2005; 39: 446-53.

National AIDS Prevention and alleviation committee. UNGASS COUNTRY PROGRESS REPORT: Thailand 2010; 117-120.

Wolff B, Nyanzi B, Katongole G, Ssesanga D, Ruberantwari A, Whitworth J. Evaluation of a home-based voluntary counseling and testing intervention in rural Uganda. Health Policy and/Planning 2005; 20(2): 109-16.

Wringe A, Isingo R, Urassa M, et al. Uptake of HIV voluntary counseling and testing services in rural Tanzania: implications for effective HIV prevention and equitable access to treatment. Trop Med Int Health 2008; 13(3): 319-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป