ค่าพยากรณ์ลบของวิธีอัลตร้าซาวน์ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันของโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ศิรินภา คำพันธุ์ โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

อัลตร้าซาวน์, ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน, ค่าพยากรณ์บวก, ค่าพยากรณ์ลบ, ความไว, ความจำเพาะ, ความแม่นยำ

บทคัดย่อ

          โรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่พบได้บ่อย ประกอบกับปัจจุบันอัลตร้าซาวน์จัดเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทช่วยในการวินิจฉัยโรคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่อาการทางคลินิกไม่ชัดเจน วิจัยนี้มุ่งที่จะประเมินค่าพยากรณ์ลบ (Negative predictive value: NPV) ของอัลตร้าซาวน์ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันว่าจะสามารถใช้เป็นตัวคัดกรองโรคได้หรือไม่ โดยศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง เก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลลำพูนตั้งแต่เดือนมกราคม 2553-ธันวาคม 2554 ด้วยอาการปวดท้องน้อยด้านขวาล่าง ร่วมกับได้รับการตรวจอัลตร้าซาวน์ กลุ่มศึกษาจำนวน 138 ราย (ชาย 52 คน และหญิง 86 คน อายุระหว่าง 5-90 ปี) ทั้งนี้ได้แบ่งลักษณะที่พบจากอัลตร้าซาวน์ตามความรุนแรงเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ปกติจนถึงสงสัยไส้ติ่งอักเสบมากหรือแตกเป็นฝี จากนั้นเทียบกับผลการผ่าตัดและผลทางพยาธิวิทยา ผลการศึกษาพบว่าอัลตร้าซาวน์เป็นลบ 36 คน (ร้อยละ 26.1) และผลบวก 102 คน (ร้อยละ 73.9) ความไวและความจำเพาะของอัลตร้าซาวน์ในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันเป็นร้อยละ 85.7 และร้อยละ 63.3 ตามลำดับ ส่วนค่าพยากรณ์บวกเป็นร้อยละ 88.2 ค่าพยากรณ์ลบเป็นร้อยละ 58.3 และค่าความแม่นยำเท่ากับร้อยละ 80.4 สรุปได้ว่า ค่าพยากรณ์บวกของการใช้อัลตร้าซาวน์ในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบมีค่าค่อนข้างสูง ในขณะที่ค่าพยากรณ์ลบมีค่าต่ำ ดังนั้นในรายที่การวินิจฉัยจากการตรวจร่างกายไม่ชัดเจน อัลตร้าซาวน์ยังถือเป็นการตรวจเพิ่มเติมอย่างแรกที่ควรใช้ เนื่องจากเป็นวิธีการตรวจที่สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องใช้รังสีแต่หากว่าอัลตร้าซาวน์ยังไม่ช่วยในการวินิจฉัย ควรส่งตรวจพิเศษอย่างอื่นเพิ่มเติมต่อไป

References

Al-Ajeramai Y. Sensitivity and specificity of ultrasound in the diagnosis of acute appendicitis. East Mediterr Health J. 2012 Jan; 18(1): 66-9.

Assefa G, Meseret S, Nigussie Y. The roleofultrasound in diagnosng of acute appendicitis. Ethip Med J. 2006; 44: 67-74.

Doria AS, Moineddin R, Kellenberger CJ, et al. US or CT for diagnosis of appendicitis in children and adult?Ametaanalysis. Radiology. 2006; 241: 83-94.

Fitz RH. Perforating inflammation of the vermiform appendix with special reference to its early diagnosis and treatment. Am J Med Sci. 1886; 92: 321-346.

Gamanagatti S, Vashisht S, Kapoor A, Chumber S, Bal S. Comparison of graded comparison ultrasonography and unenhanced spiral computed tomography in the diagnosis of acute appendicitis. Singapore Med J. 2007; 48: 80-87.

Gracey D, Mcclure MJ. The impact of ultrasound in suspected acute appendicitis. ClinRadiol. 2007; 62: 573-578.

Hobler K. Acute and Suppurative Appendicitis: Disease duration and its implications for quality improvement. Permanente Medical Journal 2. 1998; 2: 5-8.

Johansson EP, Rydh A, Riklung KA. Ultrasound, computed tomography, and laboratory findings in the diagnosis of appendicitis. ActaRadiol. 2007; 48: 267-273.

Kouame N, N’goan-Domoua AM, N’dri KJ, et al. The diagnosis value adult appendicitis. DiagnInterv Imaging. 2012 Mar; 93(3): 24-28.

Lee SL, Walsh AF Ho HS. Computed Tomography and Ultrasonography Do Not Improve and May Delay the Diagnosis and Treatment of acute appendicitis. Arch Surg. 2001; 136(5): 556-562.

Monzer M. Abu-yousef, Jon J. Bleicher, James W. Maher, et al. High resolutionsonography of acute appendicitis. AJR. 1987 July; 149(1): 53-58.

Pieper R, Kager L, Nesman P. Acute appendicitis: a clinical study of 1,028 cases of emergency appendectomy. ActaChir Scand. 1982; 140: 51-62.

Petroianu A. Diagnosis of acute appendicitis. Int J Surg. 2012; 10(3): 115-119.

Pacharn P, Jun Ying, Leann E. Linam, et al Sonography in the evaluation of acute appendicitis: are negative sonographic findings good enough? J Ultrasound Med. 2010
Dec; 29(12): 1749-55.

Reich B, Zalut T, Weiner SG. An international evaluation of ultrasound vs. computedtomography in the diagnosis of appendicitis. Int J Emerg Med. 2011 Oct; 29: 4-68.

Posen MP, Ding A, Blake MA, et al. ACR appropriateness criteria right lower quadrant pain suspected appendicitis. J Am CollRadiol. 2011 Nov; 8(11): 749-755.

Schwartz and Seymour I. “appendix.” In Principles of Surgery, edited by Seymour Schwartz, et al. New York: McGraw-Hill, 1994.

Schwerk WB, Wicktrup B, Rothmind M, Ruschoff J. Ultrasonography in the diagnosis of acute appendicitis: a prospective study. Gastroenterology. 1989; 97: 630-639.

Wise SW, Labuski MR, Kasales CJ, et al. Comparative assessment of CT and sonographic techniques for appendicealimeging. AJR Am J Roentgenol. 2001; 176: 933-941.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป