รูปแบบการจัดบริการแบบมีส่วนร่วมแก่ผู้ป่วยเรื้อรังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของการจัดบริการแบบมีส่วนร่วมแก่ผู้ป่วยเรื้อรังโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล(รพ.สต.) ในอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ในด้านผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วย(ระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด) และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการจัดบริการดังกล่าว วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานจำนวน 289 ราย ที่รับบริการในโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ซึ่งได้รับการส่งต่อให้ไปรับบริการที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน(รพ.สต./สถานีอนามัย) ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์–เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เปรียบเทียบความสามารถในการควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการรับบริการที่รพ.สต. ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมายร้อยละ 87.3 ซึ่งไม่แตกต่างจากตอนรับบริการที่โรงพยาบาลหนองม่วงไข่(p=0.870) ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ตามเป้าหมายร้อยละ 54.0 ซึ่งน้อยกว่าตอนรับบริการที่โรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.010) และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดบริการแบบนี้มากกว่าร้อยละ 80 สรุป: รูปแบบการจัดบริการแก่ผู้ป่วยเรื้อรังโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน แบบมีส่วนร่วมของ รพ.สต.มีผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้ยังต้องศึกษาข้อมูลต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเนื่องจากเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยในอนาคตได้ และจะต้องปรับปรุงแนวทางในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้เหมาะสมกับรพ.สต.ด้วย
References
วิรุณศิริ อารยวงศ์, อดิศร วงศ์คงเดช และ จิรพันธุ์ วิบูลย์วงศ์. เส้นทางสู่ความสำเร็จการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2553.
National Institutes of Health, National Heart, Lung, and Blood Institute. The Seventh Report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure. NIH Publication No. 04-5230. August 2004.
Christopher G. American Association of Clinical Endocrinologists Medical Guidelines for Clinical Practice for the Management of Diabetes Mellitus. Endocr Pract 2007; 13(Suppl 1).
Kearney PM, Whelton M, Reynolds K, et al. Globalburden of hypertension: analysis of worldwide data.Lancet 2005; 365:217-23.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2551.กรุงเทพมหานคร, 2551; 1-10.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2551. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์(1977)จำกัด, 2551;31-5.
นพฎล สุทธิพงษ์. ผลของการให้บริการคลินิกความดันโลหิตอย่างมีแบบแผนในหน่วยบริการปฐมภูมิต่อระดับความดันในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. สงขลานครินทรเวชสาร 2551; 26(2):195-9.