การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบฟอร์มการประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุฉบับภาษาไทย โดยวิธีทดสอบซ้ำเมื่อทดสอบโดยอาสาสมัครในชุมชน

ผู้แต่ง

  • วิทยาภรณ์ ศรีภิรมย์ โรงพยาบาลลำพูน
  • โภคิน ศักรินทร์กุล โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการ, ผู้สูงอายุ, ความเที่ยงตรง, เวชปฏิบัติปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

         ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การประเมินผู้สูงอายุในเรื่องของโภชนาการเพื่อค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้มีภาวะทุพโภชนาการเพื่อการดูแลที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญในเวชปฏิบัติปฐมภูมิ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุโดยใช้แบบฟอร์มการประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุ(Mini NutritionalAssessment, MNA) พร้อมทั้งหาความเที่ยงตรงของแบบฟอร์มนี้เมื่อถูกใช้โดยผู้ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ โดยให้ผู้ประเมินอาสาสมัครใช้แบบฟอร์มในการประเมินภาวะโภชนาการผู้สูงอายุอาสาสมัครซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive sampling) พร้อมทั้งเจาะระดับ serum albumin จำนวน 2 ครั้งห่างกัน 1 เดือนตามรอบการประชุมผู้สูงอายุทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป คะแนนจากการทำแบบทดสอบและระดับ serum albumin โดยสถิติเชิงพรรณนาคือการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่ากลางของข้อมูล และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความเที่ยงตรงของแบบฟอร์มการประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุโดยหาค่า Cronbach’s alpha และค่า Kappa coefficient ผลการวิจัยพบว่ามีผู้สูงอายุอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 39 คน เป็นชาย 12 คน(ร้อยละ 30.8) เป็นหญิง 27 คน(ร้อยละ 69.2) อายุเฉลี่ย 71.8 ปี มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการเฉลี่ยร้อยละ51 มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการเฉลี่ยร้อยละ 49 มีระดับ serum albumin อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 100 ค่าCronbach’s Alpha Coefficient จากการประเมินครั้งที่ 1 มีค่า 0.501 ครั้งที่ 2 มีค่า 0.507 เฉพาะข้อที่ 1-3จากทั้งหมด 18 ข้อเท่านั้นที่มีค่า Kappa Coefficient > 0.5

References

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคนอื่น ๆ. สุขภาพคนไทย2550. นครปฐุม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล;2550. p 86-121.

คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2547. กรุงเทพมหานคร: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักการส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2547. p 7-24.

Guigoz Y, Lauque S, Vellas BJ. Identifying theelder at risk for malnutrition. The Mini Nutritional Assessment. Cli Geriatr Med. 2002 Nov; 18(4): 737-57.

Vellas B, Guigoz Y, Garry PJ, Nourhashemi F, Bennaham D, Lauque S, Albarede JL. The Mini Nutritional Assessment(MNA) and its use in grading the nutritional state of elderly patients. Nutrtion. 1999 Feb; 15(2): 116-22.

Guigoz Y. The Mini Nutritional Assessment(MNA) review of the literature What dose it tell us? J Nutr Health Aging. 2006 Nov-Dec; 10(6): 466-85; discussion 485-7.

Ann Bowling. Techniques of questionnaire design. In: Ann Bowling, Shah Ebrahim, editors. Handbook of health research methods. Investigation, measurement and analysis. Glasgow: Open University Press; 2005. p. 394-403.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546, มาตรา 3, วรรค 1(2546).

อรพินทร์ บรรจง, จินต์ จรูญรักษ์, พิสมัย เอกก้านตรง, โสภา ธมโชติพงศ์. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2548; 28(2): 77-90.

Lee RD, Neiman DC. Anthropometry. In: Lee RD, Neiman DC, editors. Nutritional Assessment. Dubuque: Wm. C. Publishers. 1993: 170.

Jelliffe DB. The assessment of the nutritional status of the community. WHO monograph series no. 53,Geneva, 1996.

WHO Expert Committee on Medical Assessment of Nutritional Status. WHO Technical Report Series no.258, Geneva, 1993.

ประสงค์ เทียนบุญ. การประเมินภาวะทางโภชนาการ (Assessment of Nutritional Status). ใน ประสงค์เทียนบุญและคณะ, บรรณาธิการ. โภชนบำบัดระบบทางเดินอาหารและหลอดเลือดดำ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2540. p 10-48.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล [cited 2010 Feb 17]. Available from: URL: http://service.nso.go.th/nso/g_knowledge/estat/esta1_11.html.

Peralta R. Hypoalbuminemia. E-Medicine [cited 2007 17 Feb 10]. Available from: URL: http://emedicine.medscape.com/article/166724-overview.

อิศรัฏฐ์ รินไธสง. การวิจัยทางการศึกษา(Educational Research). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา FE511 การวิจัยทางการศึกษา(Educational Research).ภาควิชากาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ(2552).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป