ปัจจัยด้านโรคติดเชื้อที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งตับ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

ผู้แต่ง

  • มัทนา แอร์แบร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • ธัญญ์นรี ปิยกุล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่
  • อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

มะเร็งตับ, มะเร็งท่อน้ำดี, การดื่มแอลกอฮอล์, โรคพยาธิใบไม้ตับ, ภาคเหนือตอนบน

บทคัดย่อ

              มะเร็งตับยังคงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน การวิจัยในครั้งนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านโรคติดเชื้อที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งตับ ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เป็นการศึกษาแบบ case – control สัดส่วน 1:1 matched ด้วยเพศ และอายุ ± 5 ปี โดยใช้ แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับทุกชนิด อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป หรือโรงพยาบาลชุมชน ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 กันยายน 2553 จำนวนทั้งสิ้น 136 คน วิเคราะห์ค่า odd ratio ด้วย conditional logistic regression ผลการศึกษา พบว่า สัดส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 2.8: 1 พบมากในช่วงอายุ 50 – 59 ปี ร้อยละ 33.8 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 57.65 ปี พบว่า การดื่มสุราในระดับมาก และระดับปานกลางมีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งตับที่ adjusted OR = 3.488(95%CI0.969 – 12.50) และ 1.241(95% CI0.484 – 3.182) ตามลำดับ การป่วยเป็นโรคพยาธิมีความสัมพันธ์ในระดับมากต่อการเป็นมะเร็งตับ adjusted OR=5.734(95%CI 2.186 –15.040) และโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งตับ adjusted OR = 1.266(95% CI 0.417 – 3.849) ดังนั้น ควรผลักดันให้มีการเจาะเลือดเพื่อหา HBsAG carrier ในผู้ป่วยที่มีประวัติการป่วยเป็นตับอักเสบและเบาหวาน มีการพัฒนาการใช้สื่อ ประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร และการใช้ยาถ่ายพยาธิ

References

Bosch FX, Ribes J, Diaz M, Cleries R. Primary liver cancer: worldwide Incidence and trends. Gastro enterology 2004 Nov;127(5 Suppl 1): S5-S16.

Tse-LingFong.Hepatocellular Carcinoma. [Online]. Available from: www.medicinenet.com/liver_cancer/article.htm. [Accessed 2007 December 4]

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. การสาธารณสุขไทย (2548 - 2550). กระทรวงสาธารณสุข.

นัฐพนธ์ เอกรักษ์รุ่งเรือง. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค 2549.โรคพยาธิใบไม้ตับ; กระทรวงสาธารณสุข: หน้า 287-9

ชยันตร์ธร ปทุมานนท์. ระบาดวิทยาการแพทย์.สำนักพิมพ์ A PHRCG. เชียงใหม่. 1998.

International Agency for Research on Cancer. Infection with Liver Flukes. IARC Summary and Evaluation 1994; vol.61: 121.

Sriamporn S, Pisani P, Pipitgool V, Suwan rungruang K, Kamsa-ard S, Parkin DM. Prevalence of Opisthorchis viverrini infection and incidence of cholangiocarcinoma in Khon Kaen, Northeast Thailand. Trop Med & Int Health 2004 May; 9(5): 588-94.

Simonetti RG, Camma C, Florello F, cottone M, Rapicetta M, Marino L et. al. Hepatitis C virus infection as a risk factor for hepatocellular carcinoma in patients with cirrhosis. Ann Intern Med 1992 Jan 15; 116(2): 97-102.

Tanaka K, Hirohata T, Takeshita S, Hirohata I, Koga S, Sugimachi K et al. Hepatitis B virus, cigarette smoking and alcohol consumption in the development of hepaocellular carcinoma. Int J Cancer 1992 Jun 19; 51(4): 509-14.

Kiyosawa K,Lodeyama T, Tanakae E et al. Interrelationship of blood transfusion, Non-A, Non-B hepatitis and hepato cellular carcinoma: analysis by detection of antibody to hepatitis C virus. Hepatology 1990; 12: 671.

Wang LY, You SL, Lu SN, Ho HC, Wu MH, Sun CA et al. Risk of hepatocellular carcinoma and habits of alcohol drinking, betel quid chewing and cigarette smoking. Cancer Causes Control 2003 Apr;14(3): 241-50.

Hideaki T, Tomohiko H, Sachiko T, Miho N, Takako Y, Tsugio K et al. Risk Factors for Hepatocellular Carcinoma among Patients with Chronic Liver Disease. The New England Journal of Medicine 328:1797-1801.

Kangmin Zhu, Cynthia Moriarty, Lee S. Caplan and Robert S.Levine. Cigarette smoking and primary liver cancer: a population based case-control study in US Men. Cancer Cause and Control 2009; 18(3): 315-321.

Yuan-Chin Amylee, Catherine Cohet, Yu-Ching Yang, Leslie Staynery Mia Hashibe and Kurt Strait. analysis of epidemiologic study on cigarette smoking and liver cancer. International journal of Epidemiology 2009: 1-15.

Cancer Reference Information. Overview: Liver Cancer [Online]. Available from: www.cancer.org/docroot/CRI/content. [Accessed 2007 December 4].

Radell Huster. www.ehow.com>health>cancer>liver cancer.Adami HO, Chow WH, Nvren O, Berne C, Linet MS, Ekbom A et al. Excess risk of primary liver cancer in
patients with Diabetes Mellitus. J Nati Cancer Inst 1996 Oct; 88(20): 1472-7.

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป