การประเมินโครงการคัดกรองการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทํางานของแรงงานเฟอร์นิเจอร์ โดยอาสาสมัครอาชีวอนามัย

ผู้แต่ง

  • โภคิน ศักรินทร์กุล โรงพยาบาลลําพูน จังหวัดลําพูน
  • นงนุช พงษ์ตุ้ย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล บ้านม้า ตําบลศรีบัวบาน อําเภอเมือง จังหวัดลําพูน

คำสำคัญ:

การคัดกรองความเสี่ยง, พนักงานเฟอร์นิเจอร, อาสาสมัครอาชีวอนามัย

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินโครงการคัดกรองการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทํางานของแรงงานเฟอร์นิเจอร์โดยอาสาสมัครอาชีวอนามัย โดยใช้รูปแบบการประเมินของไทเลอร์ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินที่ยึดจุดมุ่งหมาย (Goal-Based Model) ในกลุ่มพนักงานในโรงงานเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านม้า ตําบลศรีบัวบานจํานวน 722 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความเสี่ยงต้อสุขภาพในการทํางานของแรงงานนอกระบบ (นบ.01) ซึ่งแบ้ง คะแนนความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับคือระดับความเสี่ยงต่ำ ระดับความเสี่ยงปานกลางและระดับความเสี่ยงทําการหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อัลฟาของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.7 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่ามีจํานวนอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 57 คน ทําการคัดกรองพนักงานได้จํานวน 260 คน (ร้อยละ 36 ของพนักงานทั้งหมด) ภายในระยะเวลา 1 เดือน คะแนนประเมินเฉลี่ย 19.58 (SD = 2.74) โดยพนักงานส่วนมากมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 74.6) รองลงมาคือระดับปานกลาง (ร้อยละ 25) และพบพนักงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับสูงเพียง 1 คน (ร้อยละ 0.4) ทั้งนี้ความเสี่ยงที่พบมากที่สุดคือมีการรับประทานอาหาร/ดื่มน้ำในบริเวณที่ทํางาน

References

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. การสํารวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: สํานักสถิติพยากรณ์ สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2553.

สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. แนวทางการดําเนินงานประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพในการทํางานของแรงงานนอกระบบปี พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตร แห่งประเทศไทย, 2553.

ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา, ชาย โพธิสิตา, กฤตยา อาชวนิจกุล, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กุลวีณ์ ศิริรัตน์มงคล, ปาณฉัตร ทิพย์สุข และสุภรต์ จรัสสิทธิ์. สุขภาพคนไทย 2553. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2553.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม, ชฤทธิ์ มีสิทธิ์, นงเยาว์ อุดมวงศ์ และระกาวิน ลีชนะวานิชพันธ์. การประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับแรงงานนอกระบบ (The Synthesis of Knowledge on Informal Workers). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544.

อนิรุจน์ มะโนธรรม. การศึกษาปัญหาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทํางานของกลุ่มแรงงาน นอกระบบในจังหวัดภูเก็ต (The Study of Occupational Health and Safety in Informal-Sector Workers in Phuket Province). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2548.

โภคิน ศักรินทร์กุล. อาชีวเวชศาสตร์สําหรับแพทย์ เวชศาสตร์ครอบครัว (Occupational medicine for family physician). ใน สานพิณ หัตถีรัตน์ (บรรณาธิการ), เวชศาสตร์ครอบครัวแนวคิดและ
ประสบการณ์ในบริบทไทย. นนทบุรี: บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด, 2553; 357-371.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนําเข้าแห่งประเทศไทย. สถานการณ์และแนวโน้ม: เฟอร์นิเจอร์ไม้. Journal [serial on the Internet]. 2553 Date [cited 2010 17 December]: Available from:
www2.oae.go.th/zone9 /KM/Maiyang.pdf.

พิสนุ ฟองศรี. เทคนิควิธีประเมินโครงการ.3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พรอพเพอร์ตี้พรินท์ จํากัด, 2550; 436.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. เทคโนโลยีการศึกษาทฤษฏีและการวิจัย กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์โอเดียน สโตร์, 2533.

สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดขอนแก่น. สรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการอาสาสมัครอาชีวอนามัยในชุมชน (อสอช.) อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. Paper presented at the การอบรมเชิง ปฏิบัติการอาสาสมัครอาชีวอนามัย ในชุมชน (อสอช.) อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น, 2551.

Field A. Discovering statistics using SPSS. 2nd ed. London: Sage pulications; 2005.

Rimer B, Glanz K. Theory at a Glance: A Guide for Health Promotion Practice. 2nd ed. Bethesda: National Institues of Health; 2005.

จรัส สิงห์แก้ว, อนงค์ศิลป์ ด่านไพบูลย์, วิทยาภรณ์ ศรีภิรมย์ และพลายแก้ว สันตจิตโต. การศึกษาระบบเฝ้าระวังสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ในโรงงานอุตสาหกรรมนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลําพูน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2550; 1(2): 246-254.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป