ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของนักเรียนมัธยม ในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • เผ่าพงศ์ สุนทร โรงพยาบาลลี้ ลำพูน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดื่มสุรา, นักเรียนมัธยม

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของนักเรียนชั้นมัธยมในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน จำนวน 356 คน ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.87 ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของการดื่มสุราของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีจำนวน 72 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.22 โดยมีปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุรา ด้านปัจจัยส่วนบุคคลอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ ระดับความเชื่อมั่นในตนเอง ความมีคุณค่าในตนเอง ความมีวินัยในตนเอง ค่านิยมการไม่ดื่มสุรา การรับรู้ผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และมีทัศนคติเชิงบวกต่อการดื่มสุรา การรับรู้สมรรถภาพแห่งตน และมีความคล้อยตามต่อการดื่มสุรา ส่วนปัจจัยครอบครัวที่อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ มีระดับการรับรู้ความสัมพันธ์ในครอบครัว บิดามารดามีความรักใคร่กัน และการควบคุมการดื่มสุราของพ่อแม่ โดยมีบุคคลในครอบครัว คือ บิดา มารดา พี่น้อง มีพฤติกรรมการดื่มสุราทุกคน รวมทั้งดื่มในเทศกาลและโอกาสพิเศษมากที่สุด สำหรับด้านปัจจัยสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ได้แก่ เพื่อนสนิทที่มีพฤติกรรมการดื่มสุรา การเข้าถึงแหล่งสุราได้ง่าย มีร้านขายสุรามากในชุมชน มีผลส่งเสริมพฤติกรรมการดื่มสุรา แต่สาหรับอิทธิพลจากสื่อโฆษณากลับมีระดับเห็นด้วยน้อย หรือไม่เห็นด้วย มากที่สุด

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. กรอบการวิจัยสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจากัดอุดมศึกษา, 2547: 12-13.

จิราภรณ์ เทพหนู. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมบริโภคสุราในนักเรียนมัธยม. นักเรียนมัธยมที่ดื่มสุรามีการรับรู้ในความสามารถของตนเอง, 2540: 30-77.

ทศพร ภูมิคา. การป้องกันการติดยาเสพติดในโรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ จังหวัดเชียงใหม่. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2542: 14

บุญเสริม หุตะแพทย์, ชินรัตน์ สมสืบ, ประกายรัตน์ ภัทรธิติ, สุรพร เสี้ยนสลาย และกุลกานต์ อภิวัฒนลังการ. พฤติกรรมการบริโภคสุราของเยาวชนไทย: การสำรวจองค์ความรู้ สถานการณ์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคสุรา. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2547: 89-91.

ปริทรรศ ศิลปกิจ, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. รายงานวิจัยเรื่องความชุกและภาวะสุขภาพจิตของไทยที่ติดสุรา. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง. 2542; 164 - 167.

ฝนทิพย์ จักรทอง. ความคิดเห็นต่อปัญหาการใช้ยาเสพติดในวัยรุ่นของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองลำพูน. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543: 54 - 61

รุจา ภู่ไพบูลย์. การสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่นแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: โนเบิ้ล, 2547: 15-22.

รัชดาภรรณ กาวีวงศ์. ความชุกในการเสพสุราของวัยรุ่นและพฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวตามการรับรู้ของวัยรุ่นที่เสพสุราในเขตอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและพยาบาลจิตเวช.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548: 21-27.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2545: 161-165.

สุนันทา ศิริวาท. การทำหน้าที่ของครอบครัวตามการรับรู้ของเด็กวัยรุ่นที่เสพสุราในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548: 42 - 49.

World Health Organization. World Report on Alcohol and Health. WHO publications. 2002: 32 - 61.

Yamane T. Statistics. An introductory analysis. New York: Harper & Row, 1967.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป