ความสัมพันธ์ของการสนับสนุนจากองค์กรกับการปฏิบัติงานการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของหน่วยกู้ชีพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, หน่วยกู้ชีพ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการสนับสนุนจากองค์กร ระดับการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินและความสัมพันธ์ของการสนับสนุนจากองค์กรกับการปฏิบัติงานการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพที่ผ่านการอบรมกู้ชีพขั้นพื้นฐานของกระทรวงสาธารณสุขในสังกัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาและขึ้นทะเบียนกับสำนักบริการการแพทย์ฉุกเฉินประจำจังหวัดพะเยา จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป การสนับสนุนขององค์กร และการปฏิบัติงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น วิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า ระดับการสนับสนุนจากองค์กรโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ย 2.95 (S.D. = 0.69) ระดับการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.42 (S.D. = 0.96) และการสนับสนุนจากองค์กรด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการ และการสนับสนุนจากองค์กรฯ โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.635, p < 0.001) ดังนั้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอดอกคำใต้ควรให้การสนับสนุนการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชนในทุกด้านเพื่อให้หน่วยกู้ชีพสามารถออกปฏิบัติการได้อย่างเหมาะสมและครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบรวมทั้งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และวางแผนสนับสนุนการปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่กู้ชีพ กู้ภัยในจังหวัดพะเยาต่อไป
References
ประดิษฐ์ สารรัตน์. การสนับสนุนองค์การที่มีผลต่อการบริหารพัสดุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน จังหวัดหนองคาย. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
วิลาวรรณ แก้วลาน. คุณภาพการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด.รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
ศูนย์กู้ชีพนเรนทร. คู่มือการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของศูนย์นเรนทร. กรุงเทพมหานคร: เอ.ที.เพรส, 2550.
สุทนต์ ทั่งศิริ และคณะ. การพัฒนารูปแบบระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยโรงพยาบาลศรีสัชนาลัย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2551; 17 (ฉบับเพิ่มเติม): หน้า 491-500.
สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. คู่มือการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: แอล. ที. เพลส, 2548.
อังคราณี ล่ามสมบัติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2553.
Schermerhorn R, Hunt G, and Osborn N. Organizational Behavior. New York: John Wiley and Sons, 2003.