การเปรียบเทียบผลการตรวจวินิจฉัยมาลาเรียโดยวิธี Nested PCR และกล้องจุลทรรศน์ฟิล์มโลหิตหนา จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2550

ผู้แต่ง

  • สุเทพ ฟองศรี สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การวินิจฉัยมาลาเรีย, วิธีการตรวจ Nested PCR, ฟิล์มโลหิตหนา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ได้มุ่งประเด็นการเปรียบเทียบวิธีการตรวจ Nested PCR กับการตรวจด้วยกล้อง    จุลทรรศน์ ฟิล์มโลหิตหนาในการวินิจฉัยมาลาเรีย จังหวัดเชียงใหม่ปี 2550 โดยนําตัวอย่างโลหิตที่ตรวจด้วย กล้องจุลทรรศน์ ฟิล์มโลหิตหนา โดยหน่วยควบคุมโรคติดต่อนําโดยแมลงที่ 10.4.3 เชียงดาว และ10.4.8    อมก๋อย (นคม.) ที่ให้ผล Negative จํานวน 102 รายคิดเป็นร้อยละ 70.34(102/145) Plasmodium falciparum จํานวน 13 รายคิดเป็นร้อยละ 8.97(13/145) และ P.vivax จํานวน 30 รายคิดเป็นร้อยละ 20.69(30/145) และนําตัวอย่างโลหิตจากผู้รับบริการคนเดียวกันส่งตรวจโดยวิธี Nested PCR พบว่าให้ผล Negative จํานวน 136 รายคิดเป็นร้อยละ 93.79(136/145) P.falciparum จํานวน 1 รายคิดเป็นร้อยละ 0.69(1/145) และ P.vivax จํานวน 8 รายคิดเป็นร้อยละ 5.52(8/145) แสดงว่าวิธี PCR สามารถตรวจพบเชื้อมาลาเรีย น้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีโลหิตฟิล์มหนาถึง 34 ราย หรือพบเชื้อเพียง 20.9%(9/43 ของการตรวจ  ด้วยกล้องจุลทรรศน์) ฟิล์มโลหิตหนาซึ่งน้อยกว่าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P-value< 0.05) แต่เมื่อนําตัวอย่างโลหิตชุดเดียวกัน ส่องตรวจโดยใช้วิธีกล้องจุลทรรศน์ที่งานชันสูตร กลุ่มงานโรคติดต่อนําโดยแมลง สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 (สคร.10) พบว่าให้ผล Negative จํานวน 103 รายคิดเป็นร้อยละ 71.03(103/145) P.falciparum gametocyte (Fg) จํานวน 1 รายคิดเป็นร้อยละ 0.69(1/145) P.falciparum จํานวน 13 รายคิดเป็นร้อยละ 8.97(13/145) และ P.vivax จํานวน 28 รายคิดเป็นร้อยละ 19.31(28/145) เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ฟิล์มโลหิตหนาที่ตรวจโดยนคม. และสคร 10 พบว่ามาตรฐานการตรวจของเจ้าหน้าที่ทั้งสองใกล้เคียงกัน การศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่าการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ฟิล์มโลหิตหนายังใช้เป็นมาตรฐาน (Gold standard) ในการวินิจฉัยแยกชนิด มาลาเรียต่อไป และการตรวจด้วย Nested PCR ไม่เหมาะสมกับหน่วยบริการสาธารณสุขทั่วไป เพราะราคาแพงมากกว่า การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์  ฟิล์มโลหิตหนา 10 เท่า

References

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานประจําปีงบประมาณ 2544 งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป, 2545.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานประจําปีงบประมาณ 2545 งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป, 2546.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานประจําปีงบประมาณ 2546 งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป, 2547.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานประจําปีงบประมาณ 2547 งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป, 2548.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานประจําปีงบประมาณ 2548 งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป,2549.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานประจําปีงบประมาณ 2549 งานควบคุมโรคติดต่อทั่วไป, 2550.

กลุ่มงานชันสูตร ศูนย์มาลาเรียที่ 2 จังหวัดเชียงใหม่. ชันสูตรโรคมาลาเรีย โรคเท้าช้าง, 2539.

http://www.thaivbd.org

http://www.malariasite.com

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/genetics/pcr.htm

Isabel D Ferreira, Virgílio E do Rosário and Pedro VL Cravo. Real-time quantitative PCR with SYBR.

Stephanie P. Johnston, Norman J. Pieniazek, Maniphet V. Xayavong, Susan B. Slemenda, Patricia P. Wilkins. and Alexandre J. da Silva. PCR as a Confirmatory Technique for Laboratory Diagnosis of Malaria. J Clin Microbiol. 2006; 44(3): 1087–1089.

Sedigheh Zakeri, Sohaila Talebi Najafabadi, Ahmad Zare and Navid Dinparast Djadid. Detection of malaria parasites by nested PCR in south-eastern, Iran: Evidence of
highly mixed infections in Chahbahar district. Malaria Journal 2002, 1:2doi:10.1186/1475-2875-1-2.

Thomas Hänscheid and Martin P. Grobusch How useful is PCR in the diagnosis of malaria? Trends in Parasitology Volume 18, Issue 9, 1 September 2002, Pages 395-398.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป