การตรวจเลือดเพื่อค้นหาการติดเชื้อโรคซิฟิลิสในกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยากแบบเชิงรุกด้วยวิธี Rapid test ศูนย์สาธิตบริการกามโรค, สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดเชียงใหม

ผู้แต่ง

  • อนุรักษ์ ชูสุวรรณรักษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • อังคนา พลภักดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • นิลวรรณ กิตยานุรักษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • วิษณุกร ยาสมุทร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • สําราญ อมยิ้ม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่
  • สุริยา นุชนัดดา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ซิฟิลิส, อิมมูโนโครมาโตกราฟ, SD BIOLINE Syphilis 3.0, กลุ่มประชากรที่เข้าถึงยาก

บทคัดย่อ

              โรคซิฟิลิสเกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักอยู่ในระยะแฝงและมีอาการเรื้อรัง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดโรคแก่ระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้หลายระบบ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง เพื่อหาความชุกของการติดเชื้อโรคซิฟิลิสในกลุ่ม ประชากรที่เข้าถึงยาก จํานวน 577 ราย ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2553 ผู้รับบริการทุกรายจะได้รับการตรวจเลือดเบื้องต้นด้วยเลือดครบส่วน(whole blood) ที่อาศัยหลักการ IC(Immunochromatography) ของน้ำยาสําเร็จรูป SD BIOLINE Syphilis 3.0 และทราบผลการตรวจภายในเวลา 20 นาที เลือดทุกรายจะได้รับการตรวจซ้ำด้วยวิธี TP.PA ซึ่งเป็นวิธีอ้างอิงอีกครั้ง ซึ่งจากการประเมินน้ำยาดังกล่าว พบว่ามีความไวร้อยละ 83.33 และความจําเพาะร้อยละ 100 ผลการศึกษาประชากรทั้งหมดพบการติดเชื้อโรคซิฟิลิสร้อยละ 3.2 เมื่อแยกตามกลุ่มประชากรเป้าหมายพบว่ากลุ่ม MSM ติดเชื้อมากสุดร้อยละ 5.6 รองลงมาคือ กลุ่ม FSW ร้อยละ 3.7 และ MSW ร้อยละ 2.5 ตามลําดับ ส่วนกลุ่ม IDUs ไม่พบการติดเชื้อในจํานวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 18 ราย จากการซักประวัติพบว่าเคยรักษามาแล้ว 6 ราย อีก 12 ราย ยังไม่เคยได้รับการรักษา ในการตรวจเลือดเบื้อง ต้นเพื่อค้นหาการติดเชื้อโรคซิฟิลิสแบบเชิงรุกที่อาศัยหลักการ IC ทําให้กลุ่มประชากรที่เข้าถึงยากได้รับโอกาสในการเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่มีความสะดวกรวดเร็วและได้รับการรักษาตามมาตรฐานได้ทันท่วงทีช่วยลดโอกาสที่จะก่อให้เกิดความพิการหรือสูญเสียชีวิตในอนาคตได้

References

อนุพงศ์ ชิตวรากร. Sexually Transmitted Disease. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทโฮลิสติก พับลิชซิ่งจํากัด; 2543: 375-377.

หัสดี อัพภาสกิจ. Clinical Serology. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้งเฮาส์; 2538: 47-48.

อนุวัตร รุ่งพิสุทธิพงษ์. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: Med Info G.D.,Ltd; 2542:13.

สุดารัตน์ สาโรวาท. พยาธิวิทยาคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้ว; 2545:37.

กฤษณา จรรยาพูน. พื้นฐานการทดสอบทางวิทยาภูมิคุ้มกัน. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนา ออฟเซต; 2548: 148.

ธารารัชต์ ธารากุล. ชุดตรวจวินิจฉัยโดยหลักการวิทยาภูมิคุ้มกัน การวิจัยและพัฒนาชุดตรวจสําเร็จรูป. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด บางกอกบล้อก; 2545: 43-44.

SD BIOLINE Syphilis 3.0 Leaflet, Standard diagnontic, Inc., 2004.

เกียรติศักดิ์ วณิชาชีวะ, วรศักดิ์ แก้วก้อง, ศรีวิไล วโรภาสตระกูล และคณะ. การประเมินน้ำยา SD BIOLINE Syphilis 3.0 ในการตรวจวินิจฉัยโรคซิฟิลิส. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบําบัด 2551; 3: 188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป