ประสิทธิผลของหลักสูตรการบําบัดรักษานักเรียนที่สูบบุหรี่ในสถานศึกษาในจังหวดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • นัทธินี วัฒนวราสันติ์ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย
  • ณหทัย จันโททัย สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

การบําบัดรักษา, การเลิกบุหรี่, พฤติกรรมการสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรการบําบัดรักษานักเรียนที่สูบบุหรี่ในโรงเรียนของจังหวัดเชียงราย หลักสูตรนี้พัฒนาจากหลักสูตรการบําบัดรักษานักเรียนที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ใช้ในปีพ.ศ. 2550 โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญในการบําบัดรักษาบุหรี่ในคลินิกอดบุหรี่ของโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงราย โดยใช้แนวคิด ทฤษฎีการบําบัดรักษาที่ดําเนินการในคลินิกอดบุหรี่ของโรงพยาบาลตาม หลักสูตรของศูนย์บําบัดรักษายาเสพติดเชียงใหม่และแนวทางเวชปฏิบัติเพื่อรักษาผู้ติดบุหรี่รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกิจกรรมทั้งหมด 20 กิจกรรม ใช้เวลาในการดําเนินการ 6 สัปดาห์และติดตามผลการดําเนินงาน 3 ครั้ง ได้แก่ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกจากโรงเรียนที่ สนใจเข้าร่วมโครงการจํานวน 20 แห่ง ประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จํานวน 325 คน เก็บข้อมูลก่อนและหลังการดําเนินโครงการและนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิตเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศชาย (97.0%) อายุระหว่าง 16 – 17 ปีอายุเฉลี่ย 15.7 ปี ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 14-15 ป ี(41.3%) สาเหตุเพราะอยากลองเฉลี่ยสูบบุหรี่วันละ 2-3 มวน และ 1 ครั้งต่อวัน หลังการดําเนินการตามหลักสูตร สามารถลดการสูบได้ 180 ราย (55.4%) เลิกสูบ 78 ราย (24.0%) สูบเท่าเดิม 59 ราย (18.2%) เมื่อติดตามผลการบําบัดรักษาภายหลังโครงการ 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน พบว่าร้อยละของการลดการสูบบุหรี่ เท่ากับ 52.3, 56.6 และ 52.6 และร้อยละของการเลิกสูบบุหรี่เท่ากับ 23.4, 24.6 และ 30.5 ตามลําดับ

สรุปได้ว่าหลักสูตรที่จัดทําขึ้นสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนได้อย่างไรก็ตาม มีข้อเสนอแนะให้มีการจัดกิจกรรมเสริมด้านอื่นๆ ให้กับกลุ่มตัวอย่าง เช่น การศึกษาดูงานผู้ที่   ป่วยเป็นโรคจากการสูบบุหรี่ การจัดกิจกรรมรณรงค์ในโรงเรียน และหลังการบําบัดรักษาผู้บําบัดควรติดตามนักเรียนที่ร่วมโครงการอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือน ละ 1 ครั้งเพื่อให้คําปรึกษาแก่นักเรียนในกรณีที่กลับไปสูบซ้ำ นอกจากเทคนิคด้านการดําเนินงานของผู้บําบัดแต่ละบุคคลก็เป็นปัจจัยสําคัญที่จะช่วยทําให้นักเรียนเกิดความสนใจรวมถึงเนื้อหาและใบงานของหลักสูตรควรปรับให้น่าสนใจมากกว่านี้ หลังจากปรับปรุงรูปแบบเอกสารตามคําแนะนําจากกลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, คณะครูอาจารย์และกลุ่มตัวอย่างควรนําไปประยุกต์ใช้ในการอบรมครูอาจารย์ที่สนใจเพื่อนําไปใช้ในการบําบัดรักษานักเรียนที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ต่อไป

References

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. ข้มูลจากผลการสํารวจการ สูบบุหรี่และการดื่มสุรา ปี 2550. http://service.nso. go.th/nso/nsopublish/service/survey/smokeExe_50.pdf

กุลวรรณ นาครักษ. การประยุกตทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนตน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ). มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. 2549. คู่มือการใหคําปรึกษารายบุคคลเพื่อการบําบัดรักษาบุหรี่จิตสังคมบําบัดในชุมชน, กรมการแพทย์.

นฤมล อารยะพิพัฒนาคู่. มือการจัดทําค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพสารเสพติดแนวใหม่ (Matrix Program). กองประสานการปฏิบัติการบําบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, 2544.

นพพร ศรีผัด และคณะ. การเข้าถึงการบริโภคบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนระดับต่ำกว่า อุดมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. เอกสารนําเสนอแบบ บรรยาย (Oral presentation) ในการสัมมนาวิชาการ ป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติประจําปี 2551 ของสํานักจัดการความรู้กรมควบคุมโรค ระหว่างวันที่ 11-13 ก.พ.2551 ณ ศูนยนิทรรศการและการประชุมไบเทค, 2549:129.

บุศยา ณ ป้อมเพรช. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดกรมอาชีวศึกษากรุงเทพ มหานคร (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ
มหาวิทยาลัย, 2539.

ประไพจิตร ชุมแวงวาปี. การศึกษาประสิทธิผลของ โปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ของ นักศึกษาชายสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตขอนแก่น(วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542.

ผ่องศรี ศรีมรกต และรุ่งนภา ผาณิตรัตน์. โครงการพัฒนารูปแบบและกลวิธีการเสริมความตระหนักในพิษภัยบุหรี่สําหรับเยาวชนไทยปที่ 1 ระยะที่ 1, การทบทวนและวิเคราะห์ทิศทางการวิจัยการควบคุมยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2519-2549. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ, 2548: 319.

มณฑา เก่งการพานิช, ลักขณา เติมศิริกุลชัย, สาดรจน์ นาคจู. การทบทวนและวิเคราะห์ทิศทางการวิจัยการ ควบคุมยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2519-2549. ศูนยวิจัยและจัดการความรูเพื่อการควบคุมยาสูบ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ, 2549.

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่: http://www.smoke freezone. or.th

ลักขณา เติมศิริกุลชัย, มณฑา เก่งการพานิช. ลงหลักปักฐานสกัดกั้นยาสูบ. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ, 2550: 27-38.

วราภรณ ภูมิสวัสดิ์ และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติเพื่อรักษาผู้ติดบุหรี่ (Clinical Practice Guideline in Smoking Cessation) กรมการแพทย์: กระทรวงสาธารณสุข, 2546.

วิยะดา ดิลกวัฒนา. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการงดสูบบุหรี่ของนักศึกษาวิทยาลัย เทคนิคสุโขทัย (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.

วันเพ็ญ ทาราศี. การศึกษาประสิทธิผลการให้คําปรึกษารายกลุ่มต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายมัธยมปลาย จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิด, 2533.

ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช. สถานการณ์การบริโภคยาสูบของประชากรไทย พ.ศ. 2534-2549. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ, 2550.

ศูนย์บําบัดยาเสพติดเชียงใหม่, เอกสาร Quit In Group: Smoking Cessation Program. พ.ศ.2549. 17. ศูนย์บําบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่. คู่มือกา รบําบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกตามรูปแบบ จิต – สังคมบําบัด (Matrix Program)

สรุปการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติครั้ง ที่ 5. ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร, 2549: 75-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป