ผลของการเสริมสร้างพลังควบคู่กับการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัส ณ โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อําพร ธินะ โรงพยาบาลสันทรายจังหวัดเชียงใหม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลตนเองของผูติดเชื้อเอชไอวี, ผูปวยเอดส

บทคัดย่อ

สังคมบางส่วน ยังมีการรังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเสริมสร้างพลังควบคู่กับการสนับสนุนทางสังคมและศึกษาผลของกิจกรรมนี้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่รักษาด้วยยาต้านไวรัส แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะประเมินสถานการณ์ ระยะดําเนินการและระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์จํานวน 25 คน เป็นชายทั้งหมด คัดเลือกแบบเจาะจง กิจกรรมประกอบด้วยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และการใช้ยา   ต้านไวรัส ฝึกทักษะการออกกําลังกายผ่อนคลายความเครียด จัดกิจกรรมกลุ่ม และให้การสนับสนุนทางสังคม ศึกษาทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกผลลัพธ์ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และการใช้ยาต้านไวรัส การดูแลตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองและความคาดหวังในผลลัพธ์ของกิจกรรม ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการดําเนินการ  ด้วยสถิติ Paired T-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษา พบว่า ระยะวิเคราะห์สถานการณ์พบกลุ่มตัวอย่างมีปัญหาสุขภาพทางกายจิตสังคม เศรษฐกิจ พฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสม และได้รับการสนับสนุนทางสังคมไม่เพียงพอระยะดําเนินการ พบว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่พอใจต่อกิจกรรม และเห็นว่าเป็นประโยชน์ระยะประเมินผลพบว่าผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และการใช้ยา   ต้านไวรัสเพิ่มขึ้น ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติเพิ่มขึ้น รู้ว่าตนเองมีคุณค่า มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตมากขึ้น สุขภาพแข็งแรงขึ้นและพึงพอใจในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง สรุปได้ว่ากิจกรรมการสนับสนุนทาง สังคมและการเสริมสร้างพลังช่วยให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม มีสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวและชุมชน และสามารถนําไป   ประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ ต่อไป

References

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม. การเฝาระวังพฤติกรรมที่สัมพันธกับการติดเชื้อ HIV ในกลุม นักเรียน จังหวัดเชียงใหม; 2550.

สํานักงานปองกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม. สรุปผลการดําเนินงานโครงการสงเสริมการเขาถึงบริการ ปรึกษาและตรวจเลือดเอชไอวีโดยสมัครใจ และการ ดูแลรักษาดวยยาตานไวรัสอยางครบถวนตอเนื่อง เขต 1 จังหวัดเชียงใหม; 2549.

United Nations Programme on HIV/AIDS. Global report: UNAIDS report on the global AIDS epidemic 2010. 23; 2010.

โรงพยาบาลสันทราย. คูมือการดําเนินงานโครงการดูแลผูติดเชื้อเอชไอวี/เอดส. อำเภอสันทราย; 2546.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงาน โครงการเขาถึงบริการยาตานไวรัสเอดสระดับชาติ สําหรับผูติดเชื้อและผูปวยเอดส. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย; 2547.

กระทรวงสาธารณสุข. คูมือการพัฒนาคุณภาพการดูแล รักษาผูติดเชื้อเอชไอวีและผูปวยเอดสดวยรูปแบบ HIVQUAL-T สําหรับผูติดเชื้อเอชไอวีและผูปวยเอดส ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย; 2550.

กรมสุขภาพจิต. การศึกษาความตองการดานสังคม จิตใจของผูติดเชื้อและผูปวยเอดสในประเทศไทย. รายงานการวิจัยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

กรมสุขภาพจิต. คูมือการใหการปรึกษาเพื่อการดูแลผู ติดเชื้อและผูปวยเอดสที่ไดรับยาตานไวรัส. กรม สุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

ดรุณี รุจกรกานต และคณะ. ผลของการดูแลสุขภาพ อนามัยที่บานตอการรับรูความสามารถในการดูแล ตนเองและคุณภาพชีวิตของ ผูติดเชื้อเอชไอวีและ ผูปวยเอดส. รายงานการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โครงการพัฒนาภูมิปญญา และการวิจัยเพื่อแกไขปญหาเอดสสํานักนโยบายและ แผนอุดมศึกษา สํานักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย; 2544.

จินตนา ธนวิบูลยชัย. การทดสอบและวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2545.

Gibson, C.H. A Concept Analysis of Empowerment. Journal of Advanced Nursing, 16(3): 54 -61; 1991.

อรพรรณ ทองคํา. ผลของกระบวนการกลุมเสรมสราง พลังอํานาจตอการปรับตัวดานจิตสังคมของผูปวยเอชไอวีสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. จาก https://kkulib.kku.ac.th. อางเมื่อ 18 กรกฎาคม 2549.

Bloom B.S. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Study of Learning. New York: David Macky; 1971.

สมคิด โพชนะพันธและคณะ. รายงานการวิจัย รูปแบบการพัฒนาการดูแลตนเองของผูติดเชื้อเอชไอวี และผูปวยเอดส. นครปฐม: ภาควิชาการพยาบาล ศาสตรศัลยศาสตร, คณะพยาบาลศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

กิตติยาภรณ โชคสวัสดิ์ภิญโญ. ศึกษารูปแบบจําลอง ตามแนวคิดการเสริมสรางพลังเพื่อสงเสริมการดูแล ตนเองของผูติดเชื้อเอชไอวีและผูปวยเอดส. การ ประชุมเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแหงชาติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม; 2548.

ตองจิตต กาญจโนมัย. การประยุกตแรงจูงใจในการปองกันโรครวมภัยทฤษฎีการสรางพลังในการปองกัน โรคเอดสของหญิงตั้งครรภโรงพยาบาลแมและเด็ก ศูนยสงเสริมสุขภาพเขต 1. นครปฐม: วิทยานิพนธ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.

กรมควบคุมโรค กลุมงานระบาดวิทยาโรคเอดสวัณ โรคและโรคติดตอทางเพศสัมพันธ. การดูแลสุขภาพ ตนเองแบบองครวมในผูใชยา; 2547

ประพันธ ภานุภาค. โรคเอดสและการดําเนินของโรค. เอกสารอัดสําเนาประกอบการอบรมการพัฒนาระบบบริการพยาบาลการดูแลรักษาผูติดเชื้อเอดส สภากาชาดไทย; 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป