การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการคำนวณน้ำหนักทารกในครรภ์ช่วงอายุ 36 สัปดาห์โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงกับโอกาสเสี่ยงต่อการผ่าท้องทำคลอดในโรงพยาบาลดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อัมไพ คูวุฒยากร โรงพยาบาลดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การผ่าท้องทำคลอด, การคำนวณน้ำหนักทารก, การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของมารดาและทารกให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย โดยจังหวัดเชียงใหม่มีอัตราตายปริกำเนิดในปี พ.ศ. 2551 เท่ากับ 6.23:1,000 การเกิด ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นเป็น 6.89:1,000 การเกิดในปี พ.ศ. 2552 จึงทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการคำนวณน้ำหนักทารกในครรภ์ช่วงอายุ 36 สัปดาห์ โดยการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง กับโอกาสเสี่ยงต่อการผ่าท้องทำคลอด ในโรงพยาบาลดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำข้อมูลมาช่วยในการคัดกรองทารกที่มีน้ำหนักมาก ที่มีโอกาสคลอดยาก คลอดติดขัด มาใช้ในการดูแลเตรียมแผนการคลอด โดยศึกษาเก็บข้อมูล น้ำหนักของทารกในครรภ์อายุ 36 สัปดาห์ที่ประเมินโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลดอยสะเก็ดช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2552 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2554 โดยเก็บรวมรวบน้ำหนักของทารกที่ได้วางแผนการคลอดส่งต่อสูติแพทย์เพื่อเตรียมการคลอด ในรายที่ทารกน้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์มีโอกาสคลอดยากติดตามจนสตรีตั้งครรภ์คลอดบุตร พบว่า กลุ่มสตรีตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ ที่มีทารกในครรภ์น้ำหนักมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ไทล์ของค่าน้ำหนักทารกมาตรฐาน (น้ำหนักมากกว่า 3,099 กรัม) มีทั้งหมด 8.28 เปอร์เซ็นต์ (จำนวน 27 ราย/326 ราย)ในจำนวนนี้สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ 33.33 เปอร์เซ็นต์ (จำนวน 9 ราย/27 ราย) และต้องผ่าท้องคลอด 66.67 เปอร์เซ็นต์ (จำนวน 18 ราย/27 ราย) ทารกอายุครรภ์ที่มีน้ำหนักมากกว่า 3,099 กรัมมีความสัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงต่อการผ่าท้องทำคลอด ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 (=80.92)

References

ชาญชัย วันทนาศิริ, ประเสริฐ ศันสนีวิทยกุล, มานี ปิยะอนันต์. Textbook of obstertrics พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัทพี เอ ลีฟวิ่งจำกัด, 2553: 127-75.

ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ และธีระ ทองสง. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: พี.บี.ฟอเรนบุ๊คส์เซนเตอร์, 2541: 127-28, 295, 307-34.

ประนอม บุพศิริ. Shoulder dystocia. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(1): 67-70.

ภัทรวรรณ ธาดลทิพย์, ยงยศ จริยวิทยาวัฒน์, Elizabeth Fenwick. ห่วงใยคุณแม่ดูแลลูกน้อย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพ: บริษัทซีเอ็ดดูเคชั่น จำกัด, 2548: 14-31.

วิทยา ถิฐาพันธ์ และวิบูลพรรณ ฐิตะดิลา. เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: บริษัทยูเนี่ยน ครีเอชั่น จำกัด, 2543: 25-88.

Bloom SL, Cuningham GF, Gilstrap L, Hauth JC, Leveno KJ, Wenstrom KD. Wiliams Obstetrics. 22nd ed. New York: McGraw-Hill Compnies, 2005: 587-92.

Calar HG, Gabbe SG, Niebyl JR, et al. Obstetrics: Normal and Problem pregnancies. 5th ed. New York: Churchill Livingstone; 2007: 215-44.

Merz E. Ultrasound in Obstetrics and Gynecology. Volume 1. New York: Thieme, 2005: 2-4, 163-7.

เผยแพร่แล้ว

2019-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป