ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานสูงอายุ (อายุ 45-60 ปี) ในจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • ระวิพรรณ มงคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน
  • อรวรรณ ตันติวงค์โกสีย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, แรงงานสูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณลักษณะประชากร การรับรู้ภาวะสุขภาพ ปัจจัยด้านงาน ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมของแรงงานสูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามและการสนทนากลุ่มแรงงานอายุจำนวน 221 คน ที่มีอายุระหว่าง 45-60 ปี ซึ่งทำงานในสถานประกอบการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ในจังหวัดลำพูน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปด้วยสถิติวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าไคว์-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า แรงงานสูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในระดับดี ร้อยละ 93.7 และร้อยละ 84.5 ตามลำดับ สถานประกอบการมีนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพและได้นำมาปฏิบัติ ร้อยละ 98.9 มีความสะดวกในการรับบริการสร้างเสริมสุขภาพ ระดับมากร้อยละ 47.9 ได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างานในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.9 และจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร้อยละ 41.7 การรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพจากสื่อต่าง ๆ ในระดับปานกลาง ร้อยละ 49.7 แรงงานสูงอายุมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างเสริม การได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข บุคคลในครอบครัว และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ โดยมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกระดับต่ำ (r=0.026, 0.150, 0.388, 0.482, 0.403, 0.414 และ 0.430 ตามลำดับ)

References

จินตนา ศรีธรรมนา, วันเพ็ญ แก้วปาน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชายวัยทองในจังหวัดขอนแก่น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2547; 18(2): 52-65.

โชคชัย มานะดี, วันเพ็ญ แก้วปาน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของแรงงานสูงอายุในสถานประกอบการเขตนิคมอุตสาหกรรม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2551.

ไพโรจน์ พรหมพันใจ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาสิทยาลัยมหิดล; 2540.

วลิดา ศักดิ์บัณฑิตสกุล. การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีที่ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย: มหาสิทยาลัยมหิดล; 2541.

วีรชัย ภานุมาตรรัศมี, วันเพ็ญ แก้วปาน. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพชายวัยทองในจังหวัดสระแก้ว. วารสารสุขศึกษา 2545; 25(91): 46-68.

วันเพ็ญ แก้วปาน, สุรินธร กลัมพากร, พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพชายวัยทองในประเทศไทย, 2548.

ศิริพร จันทร์ไพรศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ชายไทยวัยกลางคน จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย: มหาสิทยาลัยมหิดล; 2548.

สายัณห์ สวัสดิ์ศรี, วันเพ็ญ แก้วปาน, ธนบูรณ์ จุลยามิตรพร, บัณฑฺต จันทะยานี. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชายวัยทอง. วารสารกรมการแพทย์ทหารบก 2546; 55(4): 227-34.

Daniel, W.W. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. 6th ed., New York: John – Wiley & Sons, 1995.

Green L W., Kreuter m W. Health promotion planning an education and ecological approach. 3rd ed., California: Mayfield, 1999.

Ilmarinen E.J. Aging workers. Occupational &Environmental Medicine, 2001.

Kumushiro M. Aging workers. London: Taylor & Fracis, 2003.

Pender, N.J, Calolyn, L.M, Mary A.P. Health promotion in nursing practice. 4th ed., New Jersey: Pearson Education, 2001.

WHO. Ottawa charter for health promotion. An International Conference on Health Promotion Canada: 1986.

The move towards a new public health. Ontario: Canada: 1986.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-21

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป