บทบาทสมาชิกครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วิทยา มณีวรรณ โรงพยาบาลดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

บทบาทสมาชิกครอบครัว, การดูแลผู้ป่วยวัณโรค, วัณโรค

บทคัดย่อ

         การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทสมาชิกครอบครัว ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคในการให้คำปรึกษาแนะนำดูแลด้านการรักษาพยาบาล ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง จากสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับการคัดเลือกจากเจ้าหน้าที่ให้ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการกำกับการรับประทานยาของผู้ป่วยที่รับการรักษาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ณ โรงพยาบาลดอยหล่อ และมีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 72 ราย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการปฏิบัติในบทบาทการดูแลผู้ป่วยวัณโรค โดยรวมอยู่ในระดับพอใช้และมีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 68.08 เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่าคะแนนในด้านการให้คำปรึกษาและนำดูแลด้านการรักษาพยาบาล ร้อยละ 63.62 อยู่ในระดับพอใช้ ด้านจิตใจ และสังคม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีคะแนนร้อยละ 72.92, 74.50 ตามลำดับ และด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 83.33 อยู่ในระดับดี

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ."วัณโรครักษาได้ ต้องร่วมมือ ร่วมใจ" เดลินิวส์. (24 มีนาคม 2548): 8

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางบริหารจัดการวัณโรคอย่างครบวงจรในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด, 2551

พัฒนา โพธิ์แก้ว. สถานการณ์และผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในเขตภาคเหนือตอนบน. งานวัณโรคสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่: ม.ป.ท.,2551 (อัดสำเนา)

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. การติดตามความก้าวหน้างานวัณโรคและเอชไอวี. เชียงใหม่: ม.ป.ท.,2552 (อัดสำเนา)

สมหวัง พิธิยานุวัติ และอุษาวดี จันทรสนธิ. การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. เอกสารการสอนชุดวิชา สถิติวิจัยและการประเมินผลการศึกษาหน่วยที่ 1-5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2534.

เอื้อมพร ทองกระจาย. ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาตนเอง.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสวิง สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์: พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์, 2536.

ประภาเพ็ญ เอกสารประกอบการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ป.สัมพันธ์พาณิชย์, 2526.

จุไรรัตน์ มิตรทองแท้. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการและผลกระทบของความเจ็บป่วยเรื้อรัง กับภาวะสุขภาพจิตในคู่สมรส ของผู้ป่วยเรื้อรัง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป