การตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจโดยการเสนอบริการให้การปรึกษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ดวงพร เตมีศักดิ์ โรงพยาบาลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรอง, ติดเชื้อเอชไอวี, ยาต้านไวรัสเอดส์

บทคัดย่อ

           การศึกษาการใช้มาตรการแทรกแซงในการตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจโดยการเสนอบริการให้การปรึกษา ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการเปรียบเทียบผลการตรวจคัดกรองและการติดเชื้อเอชไอวีด้วยความสมัครใจ โดยการเสนอบริการให้การปรึกษา เป็นบริการรูปแบบใหม่เทียบกับบริการรูปแบบเดิม หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการติดเชื้อเอชไอวี และตรวจติดตามระดับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ในผู้ที่ตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวี เพื่อนำเข้าสู่ระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ตามเกณฑ์โดยศึกษาจากผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกที่มีอายุตั้งแต่ 15 ถึง 60 ปีที่มารับบริการช่วงวันที่ 1 สิงหาคมถึง 30 พฤศจิกายน 2551 กลุ่มตัวอย่างคือผู้รับบริการที่มีบัตรคิวลงท้ายด้วย 0 โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ และให้การปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ฟาย และการทดสอบไคสแควร์

              ผลการศึกษาพบว่าได้กลุ่มตัวอย่าง 1,625 ราย สมัครใจตรวจเลือด 435 ราย คิดเป็น 26.76%. ตรวจพบการติดเชื้อ 34 ราย คิดเป็น 7.82% การเสนอบริการให้การปรึกษา ในรูปแบบใหม่พบว่า p = 0.010 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า สามารถพัฒนาเป็นรูปแบบการให้บริการพื้นฐานของโรงพยาบาลใหม่ได้ การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวี พบว่าการใช้สารเสพติด การรับเลือดเคยตรวจด้วยโรคติดต่อทางเพศ เคยตรวจการติดเชื้อ HIV มีค่า p =< 0.010 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่าเป็นปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี การตรวจ CD4 ผู้ที่ตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวี 34 ราย มีผลการตรวจ CD4 เพื่อเข้าเกณฑ์รับยาต้านไวรัสเอดส์ดังนี้ รับยาต้านไวรัสเอดส์เดือนที่ 1 จำนวน 16 ราย เดือนที่ 2 จำนวน 5 ราย เดือนที่ 3 จำนวน 3 ราย เดือนที่ 4 จำนวน 4 ราย เดือนที่ 6 จำนวน 4 ราย เดือนที่ 8 จำนวน 1 รายทั้ง 34 รายสามารถนำเข้าสู่ระบบการดูแล เพื่อรับยาต้านไวรัสเอดส์ได้ 33 รายอีก 1 รายเสียชีวิต

References

ศูนย์ข้อมูลทางระบาดวิทยาสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์. รายงาน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงานโครงการ การพัฒนาระบบบริการ และติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัส. โรงพิมพ์ ร.ส.พ.กรุงเทพ, 2546.

กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การปฏิบัติงานควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปีงบประมาณ 2549. พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2550.

จันทพงษ์ วะสี. “ธรรมชาติวิทยาของ HIV”การรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโรคเอดส์. กองฝึกอบรมกระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 2542.

งานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. สถานการณ์เอดส์จังหวัดเชียงใหม่. งานนำเสนอสถานการณ์เอดส์ วันที่ 6 ธันวาคม 2551 ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่.

งานควบคุมโรค โรงพยาบาลแม่แตง. สถานการณ์เอดส์อำเภอแม่แตง. เอกสารประกอบการจัดทำเก็บผลงานเอดส์อำเภอแม่แตง, 1 ตุลาคม 2552.

สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศกระทรวงสาธารณสุข. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. เอกสารประกอบการบรรยายโครงการวิจัยเรื่อง การประเมินศักยภาพของการเสนอบริการให้คำปรึกษา และตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีเป็นบริการพื้นฐานในโรงพยาบาลชุมชน. วันที่ 24-25 กรกฎาคม 2550 ณ ห้องประชุมโรงแรมริชมอนด์จังหวัดนนทบุรี.
กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานกรมควบคุมโรคสำหรับสถานบริการสาธารณสุขด้านโรคเอดส์ พ.ศ. 2550. พิมพ์ครั้งที่ 1

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2550.

กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานบริการทางเพศและผู้ให้บริการทางเพศในประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 สิงหาคม 2549.

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป