ความชุกของโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่รักษาในโรงพยาบาล และการควบคุมความดันโลหิต โรงพยาบาลพะเยา

ผู้แต่ง

  • กัตติกา หาลือ โรงพยาบาลจังหวัดพะเยา จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

ความดันโลหิตสูง, โรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของการติดเชื้อโรคหนอนพยาธิผ่านดินในพื้นที่ห่างไกลถิ่นทุรกันดารของจังหวัดเชียงใหม่และการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ พื้นที่ศึกษาจำนวน 15 หมู่บ้าน 10 อำเภอ ตัวอย่างในการศึกษานี้จำนวน 1,719 คน ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ โดยวิธีคาโต้ ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง ธันวาคม 2550 

ผลการศึกษาพบความชุกการติดเชื้อหนอนพยาธิอ่านดินร้อยละ 53.5 (920/1,719) เป็นโรคพยาธิปากขอมากที่สุดร้อยละ 25.78 (443/1,719) รองลงมาได้แก่ โรคพยาธิไส้เดือน โรคพยาธิแส้ม้า คิดเป็นร้อยละ 23.95 (410/1,719) และ 13.88 (230/1,719) ตามลำดับอัตราความชุกของโรคหนอนพยาธิจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่าสูงสุดในกลุ่มอายุ 15-19 ปีร้อยละ 59.62 อัตราความชุกของโรคต่ำสุดในกลุ่มอายุ 0-4 ปี ร้อยละ 34.51 อัตราความชุกโรคหนอนพยาธิไม่มีความแตกต่างระหว่างชายและหญิง (p>0.05) ในขณะที่กลุ่มอายุ เผ่าของชาวเขา และหมู่บ้านมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพื้นที่ กับโรคหนอนพยาธิผ่านดิน พยาธิปากขอพบความชุกสูงในโซนทางทิศเหนือ พยาธิไส้เดือนพบความชุกสูงในทางตอนใต้ และอำเภอที่อยู่ทางตอนกลางใกล้เมืองความชุกจะต่ำ แสดงภาพเป็นกราฟแท่งบนแผนที่ใน GIS การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่มีประโยชน์สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์ สภาพท้องถิ่นอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในพื้นที่จริงที่จะค้นหาตำแหน่งการติดเชื้อหนอนพยาธิ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนป้องกันควบคุมการแพร่เชื้อหนอนพยาธิผ่านดินได้ 

References

Peterson JC el at. Blood pressure control, proteinuria, and the progression of renal disease. The Modification of Diet in Renal Disease Study. Ann Intern Med. 1995; 123: 754-762.

Wright JT Jr, et al . Effect of blood pressure lowering and anthypertensive drug class on progression of hypertensive kidney disease: results from the AASK trial. J Am Med Assoc. 2002; 288: 2421-2431.

Jafar TH et al. Progression of chronic kidney disease: the role of blood pressure control, proteinuria, and angiotensin-converting enzyme inhibition: a patient-level meta-analysis. Ann Intern Med. 2003; 139: 244-252.

Chobanian AV, Bakris GL, Black HR, et al. Seventh report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure. Hypertension. 2003; 42: 1206-1252.

Kidney Disease Outcomes Quality Initiative (K/DOQI). K/DOQI clinical practice guidelines on hypertension and antihypertensive agents in chronic kidney disease. Am J Kidney Dis. 2004; 43 (5 suppl 1): 51—S290.

P-Guerin, Maumus-Robert S, Zin A. Insufficient therapeutic management of hypertensive patients with renal failure in France. Archives of Cardiovascular Diseases2008; 101: 705-713.

Vela-Gonzalez L. et al. Prevalence of chronic kidney disease in hypertensive patients under treatment at primary health centres in Spain and the monitoring of their blood pressure. Aten Prima is 2008 May, 40(5):241-5.

Carmen A. Peralta; Leroi S. Hicks, Glenn M. Chertow, et al. Control of Hypertension in Adults with Chronic Kidney Disease in the United States. Shlipak Hypertension. 2005; 45: 1119.

แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ.2552 สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป