ประสิทธิผลการบริหารจัดการของศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ทรงราชย์ ไชยญาติ โรงพยาบาลสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การบริหารจัดการ, ศูนย์สุขภาพชุมชน, หน่วยบริการประจำ, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

             การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารจัดการของศูนย์สุขภาพชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่และหาอิทธิพลโครงสร้างองค์การ ด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ และด้านสภาพแวดล้อมต่อประสิทธิผลองค์การ ประชากรที่ศึกษา คือ ศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 181 โดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นสัดส่วนกับขนาดของประชากร จำนวน 125 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน เจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 375 คน ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ถึง 30 เมษายน 2552 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์พหุถดถอยเชิงชั้น ผลการวิจัย พบว่าประสิทธิผลการบริหารจัดการของศูนย์สุขภาพชุมชน เฉลี่ยร้อยละ 85.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการของศูนย์สุขภาพชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ 1) การบริหารการเปลี่ยนแปลง 2) อาชีพของประชาชน 3) การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดบริการสุขภาพ 4) การกระจายอำนาจ 5) เพศ 6) ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 7) การใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงาน 8) จำนวนบุคลากร 9) ลักษณะการจัดบริการด้านสุขภาพ 10) การแบ่งงานและหน้าที่รับผิดชอบ 11) การได้รับการอบรมเรื่องบริการปฐมภูมิและ 12) ภาวะพึ่งพิงด้านสุขภาพโดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 61.1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยบริการประจำนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องใช้วางแผนพัฒนาปรับปรุงเพิ่มประสิทธิผลการบริหารจัดการของศูนย์สุขภาพชุมชนโดยควรมีการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพจากผลลัพธ์การให้บริการอย่างแบบเป็นองค์รวม ผสมผสาน และต่อเนื่อง เพื่อสามารถอธิบายอิทธิพลของตัวแปรต่างๆได้อย่างครอบคลุม และประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของชุมชน

References

สำนักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและแนวทางการจัดบริการปฐมภูมิ พ.ศ. 2545. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2545.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการตรวจประเมินขึ้นทะเบียนหน่วยบริการประจำหน่วยบริการปฐมภูมิหน่วยบริการร่วมให้บริการ. นนทบุรี:ศรีเมืองการพิมพ์; 2549.

วิลาวัณย์ เสนารัตน์, วิจิตร ศรีสุพรรณ, ประคิณ สุจ ฉายา, วิภาดา คุณาวิกติกุล และคณะ. รูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ กรณีศึกษาในเขตภาคเหนือ.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.

หทัยชนก บัวเจริญ. การสังเคราะห์บทบาทและโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิบริบทของวิชาชีพและลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2544.

พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร และ คฑา บัณฑิตานุกุล.สถานบริการสุขภาพปฐมภูมิศูนย์สุขภาพชุมชน:กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางกรวย. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2545.

สำนักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายวิจัยและพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิ. รายงานผลการศึกษาโครงการพัฒนาและติดตามประเมินผลระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2549

Steers, Richard M. Organizational Effectiveness: Abehavioral View. Santa Monica, Califonia:Goodyear Publishing Company; 1997.

กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. ผลการตรวจประเมินคุณภาพตามมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชนรายงานการประชุม. เชียงใหม่:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; 2550.

Yamane, T. Statistical and Introductory analysis.Tokyo: Harper and Row. Inc; 1993: 1088-1089.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2547.

สำเริง แหยงกระโทก และเสาวลักษณ์ สุวรรณไมตรี.คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารและผู้นิเทศศูนย์สุขภาพชุมชน. นนทบุรี: โรงพิมพ์ ร.ส.พ.; 2545.

Robbins, Stephen P. Organization Theory Structure,Design and Application 3nd ed. 1993.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร, สุรศักดิ์ อธิมานนท์, บำรุงชะลอเดช และคณะ. บริการปฐมภูมิ: บริการสุขภาพใกล้ใจและใกล้บ้าน. นนทบุรี: สำนักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข; 2548.

Tradis, F. Attitude can be measurement : Reading in attitude theory and measurement. New York: John Wiley and Sons; 1971.

Anastasi, A. Psychological. New York: Macmillan; 1976: 225.

Munson, F.C. and Heda, S.S. An instrument for measuring nursing satisfaction. Nursing Research.1974; 159-166.

Mowday, Steers and Porter. The measurement of organization commitment. Journal of Vocational Behavior. 1979; 452.

Roming. Breakthrough Team : Outstanding result using structured teamwork. Chicago: IL Irwin; 1996; 111.

Kouzes, J.M., & Posner, B. Z. The leadership challenge 2nd ed. San Francisco: Jossey-Bass; 1995.

Luthans, Fred. Organization Behavior. New York: McGraw-Hill; 1992: 249-250.

Dess and Miller , A. Strategic Management. Singapore: McGraw-Hill; 1993; 9.

Paton R.A. and McCalman, J. Change Management: A guide to Effective Implementation. London Sage;2000: 36-37.

Cooke, R.A., and Lafferty, L.J. Organization culture inventory. Plymouth: Human synergisties; 1989: 225.

Smircich, L.and G. Morgan. Leadership: The management of Meaning. Journal of AppliedBehavioral Studies 18, 1982: 257-273. 25. Schein , Edgar H. Organizational Effectiveness: An Inventor of Proposition. Home Wood, Richard D. Irvin; 1990: 15.

Lussier Robert N. Human Relations in Organizations Applications and Skill Building 5th ed. New York: McGraw-Hill Companies; 2002: 429.

วิจิตร ศรีสุพรรณ, ประคิณ สุจฉายา, ขนิษฐา นันท บุตรและอุไร หัตถกิจ. พยาบาลและระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข: นนทบุรี; 2544: 24.

กรอบระบบคุณภาพของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ฉบับปฐมบท. สุรศักดิ์ อธิคมานนท์ (บรรณาธิการ).นนทบุรี:สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน;2550: 19-20.

Cohen, J.M. and Uphoff , N.T. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies: Cornell University; 1981: 6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป