พฤติกรรมที่มีผลต่อการเกิดโรคหนอนพยาธิลำไส้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนศรีโพธาราม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • มาลี ประทุมวัน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, โรคหนอนพยาธิลำไส้

บทคัดย่อ

      พฤติกรรมที่มีผลต่อการเกิดโรคหนอนพยาธิลำไส้ในนักเรียนชั้นประถมศึกษา: กรณีศึกษา โรงเรียนศรีโพธาราม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 56 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าสถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิจัยได้ดำเนินการ ระหว่างเดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน 2552 ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับโรคหนอนพยาธิลำไส้ในระดับสูง ร้อยละ85.7 เจตคติและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคหนอนพยาธิลำไส้ระดับสูง ร้อยละ 53.6 และ 46.4 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยด้านความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิโดยวิธี Kato’s thick smear และวิธี Modified Kato Katz มีอุบัติการณ์โรคหนอนพยาธิ ร้อยละ16.1 พบพยาธิปากขอ พยาธิใบไม้ตับ และพยาธิตัวตืด ร้อยละ 10.7, 3.6 และ 1.8ตามลำดับ จำนวนไข่พยาธิใบไม้ตับ พยาธิปากขอ และพยาธิตัวตืด มีค่าเฉลี่ย 80.50, 69.00 และ 46.00 ฟอง ต่ออุจจาระ 1กรัม ตามลำดับ พยาธิทุกตัวมีค่าความรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ

References

กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานเรื่องโรคหนอนพยาธิ. กรุงเทพฯ: 2549 http: //w.w.w._thaigov_go_th.htm, 2009

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานประจำปีงบประมาณ 2551 งานควบคุมโรคหนอนพยาธิ, 2551

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. รายงานประจำปีงบประมาณ 2549 งานควบคุมโรคหนอนพยาธิ, 2549

โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. เอกสารสรุปรายงานการตรวจโรคหนอนพยาธิ; 2551.(เอกสารอัดสำเนา)

บังอร ฉางทรัพย์, มนัส บุญประกอบ, องอาจ นัยพัฒน์, ปราโมทย์ ทองกระจาย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิลำไส้ของประชาชนในชุมชนคลองเตย กรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 12, 1(กันยายน 2549): 10 – 129

สุกัญญา วงศาโรจน์. ประสิทธิภาพของรูปแบบสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคหนอนพยาธิผ่านดินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4–6: กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 112 อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย: วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สุขศึกษา)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2548.

ณัฎฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตัวในการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.ศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อจากปรสิตตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2550

อังคณา เกลี้ยงประดิษฐ์. ผลของการจัดการปัญหาโรคหนอนพยาธิติดต่อผ่านดินในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหาดไข่เต่า อำเภอบางแก้วจังหวัดพัทลุง: วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติ). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป