การประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับอำเภอ เขตสาธารณสุขที่ 18 ปี 2551
คำสำคัญ:
การประเมินมาตรฐาน, ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว, SRRTบทคัดย่อ
การประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับอำเภอในเขตสาธารณสุขที่ 18 ระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2551 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทราบมาตรฐานการดำเนินงานของ SRRT และนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของ SRRT โดยใช้วิธีประเมินจากการสอบถาม เอกสารและหลักฐานการดำเนินงานด้านต่างๆ ตามแนวทางของสำนักระบาดวิทยา ทีมที่รับการประเมินมีจำนวน 12 ทีม จากการสุ่ม (คิดเป็นร้อยละ 25 ของจำนวนทีมทั้งหมด 46 ทีม) ผลการประเมิน พบว่า SRRT ทั้ง 12 ทีม ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน SRRT เมื่อพิจารณาตามมาตรฐานทีม พบว่า SRRT ทั้งหมดผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านทีมงาน และด้านความพร้อมและความรวดเร็ว สำหรับด้านการเฝ้าระวังและเตือนภัย และด้านการสอบสวนโรคมีทีมที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 87 และ 77 ตามลำดับเมื่อพิจารณาตามตัวชี้วัดในภาพรวม พบว่า ตัวชี้วัดที่ทีมผ่านเกณฑ์มากที่สุด ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 การจัดตั้งทีม SRRT ตัวชี้วัดที่ 2 ศักยภาพทางวิชาการของทีม ตัวชี้วัดที่ 3 ความพร้อมของทีมในภาวะปกติ ตัวชี้วัดที่ 4 ความรวดเร็วในการออกปฏิบัติงาน ตัวชี้วัดที่ 5 การจัดทำสถานการณ์โรคที่สำคัญและเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดที่ 8 การแจ้งเตือนภัยจากการตรวจสอบสถานการณ์โรค และตัวชี้วัดที่ 9 การทราบข่าวเตือนภัยและองค์ความรู้ทางเครือข่ายอิเล็กโทรนิกส์สำหรับตัวชี้วัดที่ 6 ความครอบคลุมของหน่วยงานที่ส่งรายงานผู้ป่วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนด และตัวชี้วัดที่ 7 ความทันเวลาของการรายงานผู้ป่วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังตามเกณฑ์ที่กำหนด มีทีมที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 67 ส่วนตัวชี้วัดที่ทีมผ่านเกณฑ์น้อยที่สุด คือ ตัวชี้วัดที่ 12 ความครบถ้วนของการสอบสวนการระบาดข้อเสนอแนะ คือ SRRT ควรเร่งรัดการรายงานให้ครบถ้วนและทันเวลาแก่หน่วยงานภายในเครือข่ายอย่างครอบคลุมตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาอย่างสม่ำเสมอ ปรับปรุงมาตรฐานการเขียนรายงานสอบสวนโรค และจัดทำแผนปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนี้ ทางสำนักระบาดวิทยาควรกำหนดวิธีการประเมินสำหรับแต่ละตัวชี้วัดให้มีความชัดเจนมากขึ้น
References
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร; โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), 2548.