สภาวะสุขภาพและการวิเคราะห์ผลการตรวจเลือดผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับครอบครัว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เกษม อุตวิชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • Masakzu Takahash Social Welfare Corporation Koujikai, Saitama, Japan
  • Kazuto Hiral Nippon Professional School of Medical Technology, Japan

คำสำคัญ:

ภาวะซีดความดันโลหิตสูงภาวะหูตึงความเสื่อมของการรับรู้

บทคัดย่อ

          การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพและการวิเคราะห์ผลเลือดของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับครอบครัวในจังหวัดเชียงใหม่โดยความร่วมมือกับคณะวิจัย Nippon Medical Schoolประเทศญี่ปุ่นโดยการสำรวจสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีอาศัยอยู่กับครอบครัวในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 108 คนจำแนกเป็นเพศชาย 43 คนเพชรหญิง 65 คนที่ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์และชมรมผู้สูงอายุคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประเมินสภาพว่าการรับรู้โดยใช้ Chula Metal Test (CMT) และประเมินภาวะความเสื่อมเศร้าโดย Geriatric Depression Scale (GDS) พบว่าปัญหาที่พบบ่อย 10 อันดับแรกคือความผิดปกติของการมองเห็น 94.4% ภาวะซีด  61.1% โรคกระดูกและข้อ 41.7% ความดันโลหิตสูง 37% ต้กระจก 17.6% ฟันผุ 12.96% ภาวะหูตึง 11.1% โรคหัวใจและหลอดเลือด 8.3% โรคทางเดินอาหาร 7.4% และเบาหวาน 6.5% พบความชุบของภาวะอ้วนความเสื่อมของการรับรู้และภาวะซึมเศร้า 12.0%, 18.5% และ 10.2% ตามลำดับความชุกของ hypercholesterolemia. Hyperbetalipoproteinemia และ hypertriglyceridemia เท่ากับ 50, 16.7 และ 31.5% ตามลำดับค่าเฉลี่ย (mean) ของระดับ hemoglobin, FBS, total protein, AST, ALT ALP,LDH,BUN, creatinine, uric acid และ amylase เท่ากับ 12.00+1.58,  97.19+23.38,  7.43+0.98,  2.362+14.75, 15.16+12.31, 231.50+80.87, 205.66+71.58, 15.77+5.31, 1.35+3.98 ,6.28+1.79 และ144.08+71.80 ตามลำดับจากการศึกษาพบปัญหาสุขภาพสำคัญของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับครอบครัวในจังหวัดเชียงใหม่คือความผิดปกติของการมองเห็นภาษีไขมันในเลือดสูงโรคกระดูกและข้อและความดันโลหิตสูงได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพและการสืบค้นการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีสุขภาพดีขึ้น

References

Population ageng-Wolo[edoa. The free emcuc;p[edoa/ avao;ab;e from: http://en.wikipedia.org/wiki/population.ageing.

Hamilton IS. What is ageing? In: Hamilton IS, editor. The psychology of ageing. London: Jessica Kingsley Publishers; 1991, p 13-32.

Kermis MD. The psychology of human aging. In: kermis MD, editor. Theory, research and practice. Boston: Allyn and Bacon; 1983.

The World Health Report. Life in the 21st century “A vision for all” world Health Organization Genneva, 1988:5.

Thailand life expectancy at birth-Demographics. Availablefrom: http:/indexmundi.com/Thailand/life_expoctancy_at_birth_html.

การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย 2533-2536ใ กรุงเทพฯใ กองวางแผนทรัพยากรมนุษย์ สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2538.

Jitapunkul S. Lailert C. workul P. srikihachorn A. ebrahim S. Chula Mental Test: A screening test for elderly people in less developed countries. Int J Geriatr Psychiatr 1996; 11:715-720.

Yeasavage IA, Brink TL., Rose TL., Lum O, Huang V, Adey MB, Leirer VO. Development and validation of a geriatric depression screening scale: a preliminary report. J Psychiatr Res 1983;39:37-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป