ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายที่ต่ำกับความรุนแรงของโรคปอดอุดก้นเรื้อรังที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื่อรรังโรงพยาบาลสันป่าตอง

ผู้แต่ง

  • นันทิดา ชุ่มวิเศษ โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ดัชนีมวลกาย, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกายที่ต่างกับความรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่วิธีการศึกษาเชิงวิเคราะห์และเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนพ.ศ. 2550 ถึง 28 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2552 มีผู้ป่วยทั้งหมด 138 รายส่วนใหญ่เป็นเพศชายจำนวน 86 คนร้อยละ 62.3 อายุเฉลี่ย 70.6 ปี (8.6 ปี) น้ำหนักเฉลี่ย 44.3 กิโลกรัม (10.4 กิโลกรัมเล็บปิดและดัชนีมวลกายต่ำร้อยละ 60.0 และดัชนีมวลกายปกติร้อยละ 28.3 ดัชนีมวลกายสูงร้อยละ 11.7 และดัชนีมวลกายที่ต่ำและสัมพันธ์กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ระดับรุนแรงมากกว่าผู้ที่มีดัชนีมวลกายปกติหรือสูงถึง 5.59 เท่าและดัชนีมวลกายที่ต่ำซึ่งพบได้บ่อยในผู้ป่วยปอดอุดกั้นเรื้อรังจะมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการพยากรณ์โรคที่แย่ลงการนอนโรงพยาบาลและเพิ่มอัตราการเสียชีวิตโดยที่ไม่สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคดังนั้นการให้ความสำคัญเรื่องโภชนาการในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

References

ชาญชาญ โพธรัตน์. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง.ในนิธิพัฒน์ เจียรกุล. บรรณาธิการ. ตำราโรคระบบการหายใจ. สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยกรุงเทพมหานครภาพพิมพ์. 2550ซ 408-443.

Global Initiative for Obstructive Lung Disease Global Strategy for the diagnosis. Management and prevention of chronic obstructive lung disecase (executive summary), Updated December 2007. Available from: http://ww.goldcopd.com/Guidelineitem.asp?11-2&12=1&intld=189” Accessed March 2,2008.

นิตยาเพชรสุข. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในศูนย์สุขภาพปอดโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2550.

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย.แนวทางการวินิจงฉัยและรักษาดรคปอดอุดกรั้นเรื้อรังในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุง2548). กรุงเทพมหานคร: สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. 2548.

Schols AM. Nutrition in chronic obstructive pulmonary disease. Curr Opin Pul Med 2000;6(2):110-115.

Vestbo J, Prescott E, Almdal T, et al. Body mass, fat-free body mass, and prognosis in patients with chronic obstructive pulmonary disease from a random population sample. Am J Respir Crit Care Med 2006;173:79-83.

Wilson DO, Rogers RM, Wright EC, et al. Body weight in chronic obstructive pulmonary disease : the National institute of health intermittent positive-pressure breathing trial. Am Rev Respir Dis 1989; 139:1435-1438.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-07

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป