การป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำด้วยผ้าห่อหุ้มแบบพิเศษในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องโรงพยาบาลำพูน

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ สมชาติ กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลำพูน
  • ปราณี ลิ้นาษี กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลลำพูน
  • อัญชลี คงอ้าย กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ, อุณหภูมิกาย, การระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว, อุณหภูมิห้อง

บทคัดย่อ

          การระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวทำให้เกิดอุณหภูมิกายต่ำได้และเพิ่มโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงการใช้อุปกรณ์หรือป้องกันการสูญเสียความร้อนต้องหอหุ้มผู้ป่วยด้วยผ้าหอมพิเศษใช้งบประมาณสูงการประยุกต์อุปกรณ์ที่เหมาะสมมาช่วยกับปัญหาได้การศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบผลการป้องกันอุณหภูมิกายต่ำระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับผ้าหอหุ้มพิเศษและผู้ป่วยที่ได้รับผ้าห่มแบบเดิมในผู้ป่วยที่ผ่าตัดช่องท้องโดยทำการศึกษาแบบ Randomized control trial ณ ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลลำพูนซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางช่องท้องจำนวน 54 รายมีอายุ 20 ถึง 80 ปี ASA classification I-III สุ่มเลือกแบ่งเป็นสองกลุ่มโดยวิธีใส่ซองปิดผนึกโดยทั้งสองกลุ่มให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว แต่กลุ่มทดลองใช้อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียความร้อนที่ทำด้วยผ้าสองชั้นมีฟองน้ำอยู่ตรงกลางแรกกลุ่มควบคุมใช้ผ้าเขียวที่มีอยู่ในห้องผ่าตัดผู้ป่วยวัดอุณหภูมิร่างกายและอุณหภูมิห้องผ่าตัดจนกระทั่งออกจากห้องพักฟื้นเก็บข้อมูลการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำอุณหภูมิห้องผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test, chi-square test Rank-sun test และ repeated measured regression

          พบว่าลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันการใช้ผ้าหอหุ้มร่างกายผู้ป่วยในพิเศษจะทำให้เกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำช้าผัวและอุณหภูมิกายลดลงน้อยกว่าแบบเดิมและพบว่าอุณหภูมิห้องเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำอย่างมีในยะสำคัญโดยสรุปการใช้ผ้าหอหุ้มร่างกายผู้ป่วยแบบพิเศษทำให้เกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำช้ากว่าและอุณหภูมิกายลดลงน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการหุ้มแบบเดิมส่วนปัจจัยที่มีผลกับการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำหรืออุณหภูมิห้องผ่าตัดที่ลดลงและระยะเวลาการผ่าตัดที่นานขึ้น

References

สหดล ปุญญถาวร. ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรุ้สึกใน ; วิชัย อิทธิกุลฑล และคณะ บรรณาธิการ ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัยสีวิทยา ราชวิทยาลัยวิสัญญีวิทยาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพซ ส.เอเชียเพรส(1989) จำกัด; 2548; 322-35.

ศรีสุดา มาสิริ. ภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึกใน : การปรุมวิชาการประจำปี กระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 14; กระทรวงสาธารณสุข; 2549;25.

Matsukwa T, Sessler DI, Sessler AM, Schoede M, ozaki M, Kurz A, et al. Heat flow and distribution during induction of general anesthesia. Anesthesiology 1995;82;66-73.

Ber JM, Garrett K, Clifton GL. Postopertative lypothemia in a tertiary care hospital. Anesthesiology 1999;91(Suppl):A1177.

Frank SM, Beattie C, Christopherson R, Norris EJ, Rock . Parker S, et al. Epidural versus general anesthesia, ambient operation room temperature, and patient age as predictors fof inadvertent hypothermia. Anesthesiology

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-07

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป