อุบัติการภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • รสลิน สมสมัย กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

อุบัติการคอมม่าภาวะพร่องไทรอยด์, ฮอร์โมนแต่กำเนิด

บทคัดย่อ

        ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดเป็นภาวะที่มีผลต่อการเกิดปัญญาอ่อนอย่างถาวรแต่สามารถป้องกันได้ด้วยการวินิจฉัยและให้การรักษาก่อนอายุสามเดือนเนื่องจากไม่มีลักษณะอาการจำเพาะที่จะตรวจพบได้ทันเวลาที่จะป้องกันภาวะปัญญาอ่อนจึงต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดทุกรายการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในทารกเกิดมีชีพในโรงพยาบาลลำพูนศึกษาระยะเวลาที่ทารกมารับการตรวจเลือดยืนยันและรักษารวมถึงติดตามพัฒนาการในทารกเกิดมีชีพทุกรายที่มีอายุตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไปแต่ไม่เกินเจ็ดวันที่ได้รับการตรวจคัดกรองหาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดในโรงพยาบาลลำพูนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2543 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2550 จำนวน 13,788 รายหรือร้อยละ 98.2 ของทารก เกิดมีชีพทั้งหมดที่รับไว้ในโรงพยาบาลลำพูนวิเคราะห์ด้วยสัดส่วนค่าเฉลี่ยอัตราส่วนผลการศึกษาพบว่ามีค่าระดับไทรอยด์ฮอร์โมน (TGH) ผิดปกติตั้งแต่ 25 มิลลิยูนิตต่อลิตรขึ้นไปจำนวน 67 ราย (ร้อยละ 0.5 ) ในจำนวนที่พบค่าผิดปกติเหล่านี้ได้รับการตรวจยืนยันจำนวน 62 ราย (ร้อยละ 92.5) อายุเฉลี่ยของทารกช่วงยืนยันผลและรับการรักษา 26.7 วันในจำนวนที่ตรวจยืนยันนี้พบห้ารายมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิดคิดเป็นอุบัติการหนึ่งต่อ 2809 การเกิดมีชีพโรงพยาบาลลำพูน (3.56 ต่อ 10,000 ราย) และทารกทั้งห้ารายมีพัฒนาการปกติควรดำเนินการคัดกรองต่อไปเพื่อค้นหาทารกที่มีความเสี่ยงต่อโรคมีได้ตั้งแต่แรกเกิดพัฒนาระบบติดตามทารกให้เร็วขึ้นและควรมีการนัดตรวจพัฒนาการในกลุ่มนี้เป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในแต่ละวัย

References

Klein AH, Meltzer S, Kenny FM. Improved prognosis in congenital hypothyroidism treated
before age three months. J Pediatr 1972; 81: 912-915.

Smith DW, Blizzard RM, Wilkins L. The mental prognosis in hypothyroidism of infancy and child hood. A review of 128 cases. Pediatr 1957; 19:1011 – 1012.

วิยะดา เจริญศิริวัฒน์. การคักรองสุขภาพทารกแรกเกิดของกระทรวงสาธารณสุข. ความเป็นมาของการคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดในประเทศไทย. การประชุมสัมมนาเฉลิมพรเพียรติการคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันปัญญาอ่อน. กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 หน้า 5-16.

วิไล ราตรีสวัสดิ์. การคัดกรองทารกแรกเกิดของกระทรวงสาธารณสุข. การประชุมสัมมนาเฉลิมพระเกียรติการคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันปัญญาอ่อน. กระทรวงสาธารณสุข

วิมล สุขสมยา. จงดี สุขถมยา, ศุภกาญจน์ ศิลปะรัศมี กรุณี เด่นยุกต์, สุนทร กังสะวิน. การสำรวจภาวะขาดฮอร์โมนต่อมธัยรอยด์ของเด็กแรกเกิดในภาตใต้. รังสีวิทยาสาร. 2529; 23: 74 – 79.

New England congenital hypothyroidism collaborative: characteristics of infantile hypothyroidism discovered on neonatal screenting. J Pediatr 1984; 104:539-44.

Saslow JG Post EM, Southard CA, Thyroid screening for early discharged infants. Pediatrics 1996; 98:41-44.

American Academy of Pediatrics, Committee on Genetics Newborn screening fact sheets. Pediatr 1989; 83: 449 – 464.

วราภรณ์ เตชะเสนา, พรชัย งามสิทธิฤกษ์, รันี เจริญสวัสดิ , เสาวลักษณ์ ชนม์ยืน, ไพบูลย์ พนันชัย. ผลการตรวยจคัดกรองทารกแรกเกิดเพื่อค้นหาภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2537; 4:268-277.

Rajatanavin R, Sriprapadaeng A, Sompong W, et al. Screening for congenital hypothyroidism in Thailand: Has its time come? J Med Assoc Thai 1993; (suppl2):2 – 8.

Charoensiriwatana W. The pilot activities for neonatal screening in Thailand. National neonatal screening programme in Thailand, Chonburi, 19 – 20 April 1995. Organized by Department of Medical Science, The Ministry of Public Health, Thailand: 33 – 42.

ประพจน์ ประภัสสรพงษ๋. อุบัติการณ์ของภาวะพร่องธัยรอยด์ฮ อร์โมนแต่กำเนินในโรงพยาบาลยโสธร. ยโสธรเวชสาร 2549; p.76-80.

Thaithumyanon P, Srivathana S, Poshyachinda M. Neonatal screening for hypothyroidism at a university hospital in Thailand, Southeast Asian J Trop Med Public Health 1999; 30:25-27.

สมภพ อหันฑริก, จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์. วิยะดา เจริฯศิริสวัฒน์, นภาวรรณ เจนใจ, เปี่ยมนุกุล กระเสาร์. การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดจากสาเหตุ congenital hypothyroidism โดยใช้เทคนิคการเก็บตัวอย่างบนกระดาษซับเลือดจากพื้นที่ขาดสารไอโอดีนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2535; 2:73-76.

ชัชวาลย์ ศิรินิรันดร์, สุถภารัชต์ กาญจนะวณิชย์. การคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด : โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารวิชากรสาธารณสุข 2546; p.548-552.

Joseph R, Ho LY, Gomez JM, Rajdurai VS,Sivasankaran S, Yip YY. Newborn screening in Singapore. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1999; 30:23-24.

Ray M, Muir TM, Murray GD, Kennedy R, Girdwood RW, Donaldson MD. Audit of screening programme for congenital hypothyroidism in Scotland 1979- 1993. Arch Dis Child 1997; 76:411-415.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-10

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป