การสูญเสียการได้ยินในเจ้าหน้าที่แผนกจ่ายผ้ากลางโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กิตติประกาย อัครธรรม

คำสำคัญ:

การสูญเสียการได้ยิน, เจ้าหน้าที่แผนกจ่ายผ้ากลาง

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียงจากการทำงานในบุคลากรที่ทำงานในแผนกจ่ายผ้ากลาง โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องแนวทางการป้องกันภาวะหูเสื่อมจากเสียงจากการทำงาน ระหว่างเดือนมิถุนายน 2551 การวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรในแผนกจ่ายผ้ากลาง จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียง ร้อยละ 53.8 (7/13) อายุเฉลี่ยของเจ้าหน้าที่แผนกจ่ายผ้ากลางที่มีการสูญเสียการได้ยินเท่ากับ 44.4 ปี เพศหญิงร้อยละ 71.43 เพศชายร้อยละ 28.57 ระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 71.43 (5/7) มีโรคประจำตัวร้อยละ 42.86 (3/7) ไม่มีการป้องกันเสียงดังร้อยละ 42.86 (3/7) ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะประสาทหูเสื่อม เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในเสียงดังควรจะได้รับสุขศึกษาเกี่ยวกับอันตรายของเสียงดัง วิธีป้องกันและการรักษาระดับการได้ยินที่มีอยู่ไม่ให้เสื่อมมากขึ้น ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาเพิ่มเติมและเป็นแนวทางในการวางแผน ดูแล ป้องกัน เฝ้าระวัง ภาวะประสาทหูเสื่อมจากเสียงจากการทำงานในบุคลากรที่ทำงานในที่เสียงดังต่อไป

References

โยธิน รอดทอง, ศิริพันธ์ ศณีวันยงค์. โสตสัมผัสวิทยาอุตสาหกรรมและการคิดค่าทดแทนการสูญเสียการได้ยินจากการทำงาน. ใน: สุภาวดี ประคุณหังสิต, บรรณาธิการ. ตำราโสต ศอ นาสิกวิทยา ฉบับเรียบเรียงใหม่ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง, 2550: 152-163.

http://203.121.160.25/journal/103/noiseinducehearing-loss.htm

http://dpe5.ddc.moph.go.th/knowledge/enoccl.html

www.sut.ac.th/e-texts/Medicine/HSW/lesson6.pdf

สาธิต ชยาภัม. เกณฑ์มาตรฐานสำหรับการตรวจคัดกรองการได้ยินในโรงงานอุตสาหกรรม. สงขลานครรินทร์เวชสาร. 2544; 3: 183-86.

สุนันทา พลปัถพี. โสตสัมผัสวิทยาในการอุตสาหกรรม (Industrial Audiology) และการสูญเสีย. ใน: อภิชัย วิชลาศิริ, ฉวีวรรณ บุนนาค, บรรณาธิการ. ตำราโรคหู คอ จมูก. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์; 2540. 176-8.

Lusk SL. Noise exposure: Effects on hearing and prevention of noise induced hearing loss. AAOHN 1997; 45: 397-410.

Hora, Chen 1998: 67 cited by NJOSH 1996.

Rabinowitz MP. Noise-Induced Hearing loss. Am Fam Physician 2000; 61: 2479-56.

ยุวดี ยิ่งยงค์, ศักดิ์ดา ศิริกุลพิทักษ์, ดวงสมร ชาติสุวรรณ. รายงานสถานการณ์และแนวโน้มปัญหาอาชีวอนามัย. 2538. กองอาชีวอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2542.

พรรณศิริ กุลปรโยน. รายงานสถิติการเจ็บป่วย พ.ศ. 2540. สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม; 2543.

สุนันทา พลปัถพี. ภาวะหูตึงเหตุอาชีพ. ใน: สมชัย บวรกิตติ, บรรณาธิการ. ตำราอาชีวเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ: หจก.เจ เอส เค การพิมพ์; 2542: 436.

ธิติยา รักษ์ศรี, พิชญา ตันติเศรณี, สาธิต ชยาภัม. การติดตามสมรรถภาพการได้ยินและระดับเสียงดังจากการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลสงชลานครินทร์เปรียบเทียบปี พ.ศ. 2547; 2: 351-361.

มณฑา คล้ายศรีโพธิ์, วิโรจน์ เจียมจรัสรังสี, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. Prevalence and related factors of noise-induced hearing loss among arunyik knife handicraft worker in ayutthay province (วิทยานิพนธ์). กรุงเทพฯ (ประเทศไทย) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2543.

Osguthrope JD, Klien AJ. Occupational hearing conservation. Otolaryngol Clin North Am 1991; 24: 403-14.

กองอาชีวอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การสูญเสียการได้ยินในโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2535.

สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. อันตรายจากเสียง. Available form: (http://F:reaearchnihl4.htm).

สุนันทา พลปัถพี. โรคประสาทหูเสื่อมจากการประกอบอาชีพ. คู่มือการวินิจฉัยและการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ. กองอาชีวอนามัย: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก 2538; 33-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป