ความตั้งใจและพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ : กรณีศึกษาโรงเรียนดงเจนวิทยาคม

ผู้แต่ง

  • มนตรี วิลาชัย สำนักงานสาธารณสุขภูกามยาว จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัย, โรงเรียนดงเจนวิทยาคม

บทคัดย่อ

            ความตั้งใจและพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ กรณีศึกษาโรงเรียนดงเจนวิทยาคมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจและพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรและสังคมของกลุ่มตัวอย่าง สภาพการใช้รถ ความเชื่อด้านสุขภาพ ทัศนคติในการสวมหมวกนิรภัย บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงในการสวมหมวกนิรภัยกับความตั้งใจในการสวมหมวกนิรภัย โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน และทดสอบความมีนัยสำคัญโดยใช้ค่าที และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจในการสวมหมวกนิรภัยกับพฤติกรรมในการสวมหมวกนิรภัยโดยใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีช่วงอายุ 15-20 ปี เป็นเพศชาย ร้อยละ 77.5 เป็นผู้ขับขี่ ร้อยละ 81.5 จากผู้ขับขี่มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ได้รับอุบัติเหตุ ร้อยละ 39.8 และร้อยละ 89.2 ไม่สวมหมวกนิรภัย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจและพฤติกรรมที่จะสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์พบว่า นักเรียนเกินครึ่ง ร้อยละ 64.8 มีความตั้งใจที่จะสวมหมวกนิรภัยขณะใช้รถจักรยานยนต์แต่พฤติกรรมที่แสดงออกในการสวมหมวกนิรภัยขณะใช้รถจักรยานยนต์แต่พฤติกรรมที่แสดงออกในการสวมหมวกนิรภัยขณะใช้รถจักรยานยนต์มีไม่ถึงครึ่ง (46.7%) ผลการวิเคราะห์พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจที่จะสวมหมวกนิรภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 เรียงตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ เพศชาย รายได้ ความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจและพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยเป็นไปในทางตรงกันข้ามกัน คือ นักเรียนมีความตั้งใจที่สวมหมวกนิรภัยสูงแต่แสดงพฤติกรรมสวมหมวกนิรภัยขณะใช้รถจักรยานยนต์ต่ำ

References

งานข้อมูลข่าวสารกลุ่มควบคุมป้องกันการบาดเจ็บและปัญหาจากสุรา สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนการบาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุขนส่งทั่วประเทศกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำแนกรายเดือน ปี พ.ศ. 2545 (มกราคม-กันยายน). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2546 จาก: http://www.thai.net/accident/stat.html.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและภูมิภาค. สถานการณ์อุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2546 ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2546 – 2 มกราคม 2546. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2546. จาก: http://www.thai.net/accident/data/newyear/newy_sit45.htm

งานข้อมูลข่าวสารกลุ่มงานวิชาการสถาบันการแพทย์ด้านอุบัติเหตุและสาธารณภัย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2546. จำนวนการบาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุขนส่งของสำนักงานสาธารณสุขและโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครปี 2543-2544 จาก :htpp://www.thai.net/accident/data/stat/inju_dead_miad.htm

พัชรี พวงมาลัย. การศึกษาการบาดเจ็บในผู้ป่วยอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ที่สวมหมวกนิรภัยและไม่สวมหมวกนิรภัยที่มารับบริการในโรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา: โรงพยาบาลพะเยา; 2541.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุจารจร ปีงบประมาณ 2541-2545. พะเยา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา; 2546.

เพ็ญประภา ศิวิโรจน์, สมพงษ์ โมราฤทธิ์ และธานินทร์ ฉัตราภิบาล. การประเมินผลนโยบายป้องกันอุบัติเหตุจารจรของรัฐบาลในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2546 จังหวัดเชียงใหม่และลำปาง; 2546.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์และกรรณิการ์ สุขเกษม. เทคนิคทางสถิติขั้นสูงสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยไมโครคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS PC+ การวิเคราะห์การถดถอยแนวคิดวิธีการและการประยุกต์ใช้เล่มที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง; 2536.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-22

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป