การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับ CD4 กับความเสี่ยงต่อภาวะแพ้ยารักษาวัณโรคในผู้ติดเชื้อ HIV ในโรงพยาบาลสารภี

ผู้แต่ง

  • สุนีย์ นรเศรษฐ์ธาดา

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับ CD4, บความเสี่ยงต่อภาวะแพ้ยารักษาวัณโรค, ผู้ติดเชื้อ HIV, โรงพยาบาลสารภี

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับ CD4 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งถึงความรุนแรงของโรคเอดส์ กับความเสี่ยงต่อภาวการณ์แพ้ยารักษาวัณโรค โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบล่วงหน้า (Prospective) กลุ่มประชุมชนกรที่ศึกษาคือผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่ได้รับยาต้านไวรัส หรือยาที่เกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ซึ่งได้รับการวินิจฉัยหรือสงสัยวัณโรค จำนวน 23 คน ที่เข้ารักษาในคลินิกเอดส์และวัณโรคในโรงพยาบาลสารภีตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2548 ถึง 1 กรกฎาคม 2550 แยกเป็นผู้ป่วยชายจำนวน 15 คนและหญิง 8 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 20 ถึง 70 ปีและมีระดับ CD4 ตั้งแต่ 8 ถึง 273 โดยผู้ป่วยจะได้รับการรักษาวัณโรคตามาตรฐานสูตร 2HRZE + 4HR และติดตามดูแลรักษาตามขั้นตอนมาตรฐานของแผนงานวัณโรคแห่งชาติ จากผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยเพศหญิงที่สงสัยวัณโรคปอด จำนวน 1 คนเท่านั้น ที่มีผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยยารักษาวัณโรคประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อได้รับยารักษาอาการแพ้กลุ่ม Anti-histamine พบว่าอาการดังกล่าวได้หายเป็นปกติ ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า ระดับ CD4 ไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อภาวะแพ้ยารักษาวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

References

พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ. ทำไมต้องรักษาผู้ป่วยวัณโรคด้วย DOT. วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก. 2544; 22: หน้า 195-198.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางระดับชาติ: ยุทธศาสตร์การผสมผสานการดำเนินงานวัณโรคและโรคเอดส์เพื่อการควบคุมการป้องกันวัณโรคในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ; 2546.

กลุ่มวัณโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. โรคพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, กรุงเทพฯ; 2548.

WHO. WHO Report 2005-Global Tuberculosis Control, Surveillance, Planning, Financing. World Health Organization. WHO/HTM/TB/2005; 2005: 349.

อิทธิศักดิ์ เสียมภักดี. การปฏิรูปงานควบคุมวัณโรคแนวใหม่กับการพัฒนางานเภสัชกรรมคลินิกสำหรับผู้ป่วยวัณโรคของเภสัชกรโรงพยาบาลในทศวรรษที่ 21. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสำนักงานควบคุมโรคติดต่อ เขต 10, เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนางานควบคุมวัณโรคสำหรับเภสัชกร. กรกฎาคม 2542. โรงแรมสุริวงศ์เชียงใหม่; 2542.

WHO. Treatment of Tubeculosis: Guidelines for National Programmes, Third edition._Revision approved by STAG, June 2004} World Health Organization, WHO/CDS/TB/2003: 313.

WHO. Guidelines for the Management of Drug-resistant Tubeculosis. World Health Organization, WHO/TB/99.210 (Rev.1); 1996.

สุนิสา ศิริ. การใช้ยารักษาวัณโรคและการวัดอาการข้างเคียงจากยารักษาวัณโรค. เอกสารประกอบอบรมการดำเนินงานควบคุมวัณโรคด้วยวิธี DOTS สำหรับเจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรค. วันที่ 1-2 และ 4-5 เมษายน 2545. โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ; 2545.

Crofton J., Horrne N., Miller F. Clinical Tubeculosis. The MacMillan Press. HongKong; 1992.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป