ภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ, ภาวะสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 การวิจัยเชิงพรรณนา วัสดุ และวิธีการกลุ่มเป้าหมาย เป็นบุคลากร จำนวน 290 ราย เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และตรวจร่างกาย ใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลภาวะสุขภาพ แบบสอบถามดัชนี้ชี้วัดภาวะสุขภาพจิตของคนไทยของกรมสุขภาพจิต และแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ภาวะสุขภาพด้านร่างกาย กลุ่มตัวอย่างมีดัชนีมวลกายปกติร้อยละ 66.00 ความดันปกติ ร้อยละ 94.20 ระดับน้ำตาลในเลือดปกติร้อยละ 98.76 ระดับโคเลสเตอรอลตามกลุ่มอายุปกติร้อยละ 71.60 และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดปกติร้อยละ 88.89 ภาวะสุขภาพด้านจิตใจ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ร้อยละ 79.09 พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก สรุปผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานแก่ บุคลากรสาธารณสุขในการส่งเสริมการปฏิบัติกิจกรรมที่มีผลต่อคงไว้ และเพิ่มภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีต่อไป
References
ประเวศ วะสี. ๖2543๗. บนเส้นทางใหม่ การส่งเสริมสุขภาพ อภิวัฒน์ชีวิตและสังคม.กรุงเทพฯ. หมอชาวบ้าน
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ.วิวัฒนาการการส่งเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541.
อำนาจ ศรีรัตนบัลล์.การสร้างเสริมสุขภาพ.วารสารสร้างเสริมสุขภาพ,2547; 1(2): 1-9.
Pender, N. J. Health promotion in nursing practice (3th ed.). New York: Appleton Lange; 1996.
วิพุธ พูลเจริญ, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์,สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์,และจิรุณม์ ศรีรัตนบัลล์. สู่การปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: ดีไซร์;2543.
โรงพยาบาลจอมทอง. รายงานประจำปี 2547.งานเวชระเบียน: โรงพยาบาลจอมทอง; 2548.
กรมสุขภาพจิต.แบบประเมินทางสุขภาพจิต.กรุงเทพ; 2545.
สุธิศา ล่ามช้าง, รัตนาวดี ชอนตะวัน,ฐิติมา สุขเลิศตระกูล และวิภาดา คุณาวิกติกุล; 2548.
ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของอาจารย์กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Butler, J, T. Prinnciples of health education & health promotion. Australia: Wadsworth Thomson Leaming.(2001)
ศรีเรือน แก้วกังวาน.จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย (เล่ม 2) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Natechang, S. (2002). Influencing of caregivers role stain, worry for, caring and caregivers Factor on health status of caregivers of stroke patients. A thesis submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of the master of nursing science adult nursing, Faculty of graduate studies Mahidol University.,2002.
โรงพยาบาลจอมทอง. รายงานประจำปี 2548. งานเวชระเบียน: โรงพยาบาลจอมทอง.,2002.
Muhelenkamp, A. F. & Sayles. J. A. Self-esteem, Social support and Positive. Health Care Practices. Nursing Research, 1986.35(11),336.
รุจา ภู่ไพบูลย์. การพยาบาลครอบครัว: แนวคิดทฤษฎีและการนำไปใช้.ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ: วี.เจ.พรินติ้ง.2541.
Orem, D.E. Nursing concepts of practice. (6th ed.). St Louis: Mosby year Book, 2001.
บุปผา ชอบใช้. การพยาบาลในมิติจิตวิญญาณ โดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นหลัก.2546.
ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2546.