เปรียบเทียบประสิทธิภาพของการให้นมลูกในมารดาผ่าตัดคลอดที่ได้รับยา Diclofenac กับ Morphine

ผู้แต่ง

  • ศิริโสภา คำเครือ
  • กัลยา กิติมา

คำสำคัญ:

การผ่าตัดคลอด, มารดาให้นมลูก, Diclofenac, Morphine

บทคัดย่อ

             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของการให้นมลูกในมารดาผ่าตัดคลอดที่ได้รับ Diclofenac กับ Morphine รูปแบบการวิจัย Double blind randomized control trial สถานที่ศึกษา หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่าง มารดาหลังผ่าตัดคลอด ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2547-15 มิถุนายน 2549 จำนวน 200 ราย แบ่งเป็นได้รับ Diclofenac 81 ราย ได้รับ Morphine 74 ราย ถูกคัดออก 45 ราย วิธีการศึกษา มารดาหลังผ่าตัดคลอด ได้รับการสุ่มเลือกชนิดของยาลดอาการปวด บันทึกระยะเวลาที่มารดาสามารถเริ่มให้นมลูก, บันทึกระยะเวลาที่น้ำนมเริ่มไหลหรือไหลเพิ่ม, ระยะเวลาที่ลูกดูดนมมารดาดี และน้ำนมไหลดี ตัววัดที่สำคัญ ระยะเวลาที่มารดาสามารถเรนิ่มให้นมลูก, ระยะเวลาที่น้ำนมเริ่มไหลหรือไหลเพิ่ม, ระยะเวลาที่ลูกดูดนมมารดาดี และน้ำนมไหลดี ผลการศึกษา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างข้อมูลพื้นฐานมารดาหลังผาตัดคลอดที่ได้รับ Diclofenac เทียบกับ Morphine ระยะเวลาที่มารดาเริ่มให้นมลูก ระยะเวลาที่น้ำนมเริ่มไหล, ระยะเวลาที่น้ำนมไหลดี ลูกดูดนมได้ดี พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับ Diclofenac เทียบกับ Morphine สรุป ระยะเวลาที่มารดาเริ่มให้นมลูก ระยะเวลาน้ำนมเริ่มไหล ระยะเวลาที่ลูกดูดนมได้ดีและน้ำนมไหลดี ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มศึกษา (Diclofenac) และกลุ่มอ้างอิง (Morphine)

References

ส่าหรี จิตตนันท์, วีระพงษ์ ฮัตรานนท์ และศิราภรณ์ สวัสดิวร. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความรู้สู่ปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร; 2546.

เจือกุล อโนธารมณ์. บทบาทของพยาบาลในการประเมินความเจ็บปวด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2545; 20: 8-18.

Bieri D, Reeve RA, Champion GD. The Face Pain Scale for the self-assessment of the severity of pain experienced by children: development, initial validation, and preliminary investigation for ratio scale properties. Pain 1990; 41: 139-50.

Dennis AR, Leeson-payne CG, Hobbs GL. Analgesia after cesarean section. The use of rectal diclofenac as and adjunct to spinal morphine. Anaesthesia 1995; 50: 297-9.

Bush DJ, Lyons G, Macdonald R. Diclofenac for analgesia after cesarean section. Anaesthesia 1992; 47: 1075-7.

สมศรี เผ่าสวัสดิ์, เพลินจิตต์ ศิริวันสาณท์, อังกาล ปราการรัตน์ และวรรณา สมบูรณ์วิบูลย์. วิสัญญีวิทยาประยุกต์.กรุงเทพมหานคร: ยูนิตี้พับลิเคชั่น,255: 16-8.

Robieux I, Koren G, Vandenbergh H, Schneidermen J. Morphine excretion in breast milk and resultant exposure of a nursing infant. J Toxicol Cline Toxicol 1990; 28: 365-70.

Gerald G, Roger K, Sumner J. Morphine. Drug in pregnancy and lactation 2002; 2: 957-9.

Anderson PO> Medication use while breast feeding a neonate. Neonatal Pharmacology Q 199.; 2: 3-14.

Goldsmith DP. Neonatal rheumatic disorders. View of the pediatrician. Rheum Dis Cline North Am 1989; 15: 287-305.

Product information. Voltaren. Geigy Pharmaceuticals, 19952.

Needs CJ, Brooks PM. Ant rheumatic medication during lactation. Br J Rheumatology 1985; 24: 291-7.

เภสัชตำรับ. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, 2543.

บัญชีราคายา. กลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลลำพูน. ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป