การประเมินความพร้อมของโรงพยาบาลในการควบคุมโรคไข้หวัดนกจังหวัดลำพูน ปี พ.ศ. 2548

ผู้แต่ง

  • กาญจนา เลิศวุฒิ
  • เจริญ สิทธิโรจน์
  • อารีรักษ์ ชลพล

คำสำคัญ:

โรคไข้หวัดนก, การเตรียมความพร้อม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพร้อมของโรงพยาบาลในการควบคุมโรคไข้หวัดนก ดำเนินการเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลทุกแห่ง จำนวน 7 แห่ง โดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 10-16 พฤษภาคม 2548 ผลการศึกษาพบว่า โรงพยาบาลมีคณะกรรมการ, ทีมดูแลผู้ป่วย, แนวทางปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร, อบรมเจ้าหน้าที่, ซ้อมแผน, แนวทางการส่งต่อผู้ป่วย และการให้สุขศึกษา ร้อยละ 100,85.71,100,100.10085.71 และ 100 มีจุดคัดกรองผู้ป่วยนอกที่มารับบริการ, มีการจัดการให้ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคไข้หวัดนกสวมผ้าปิดจมูก ร้อยละ 85.71,100 บุคลากรสาธารณสุขสวมหน้ากาก N 95 ทำ Fit test ถูกต้อง ร้อยละ 100,71.43 มีห้องแยกที่มีลักษณะแบบประยุกต์ สำหรับผู้ป่วยใน ร้อยละ 100 บุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วยในสวมหน้ากาก N 95 และทำ Fit test ถูกต้อง ร้อยละ 100 บุคลากรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 95.15 บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยใน บันทึก วัน เวลา ปฏิบัติงาน ร้อยละ 71.43 ห้องชันสูตร มีตู้ชีวนิรภัย ร้อยละ 14.29 มีการตรวจวิเคราะห์หาเชื้อไข้หวัดนก โดยใช้ Rapid test kit for flu A ชนิด Directigen ร้อยละ 100 มีการรายงานคงคลังเวชภัณฑ์/อุปกรณ์ สม่ำเสมอ ร้อยละ 71.43 บุคลากรรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเว็บไซด์ กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน, และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 ร้อยละ 100, 71.43, 100 และ 100 ดังนั้น ควรผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบการจัดการเพื่อควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลรวมทั้งพัฒนาห้องชันสูตร ให้ความสำคัญในการซ้อมแผนเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถรองรับโรคไข้หวัดนกและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้

References

กรมควบคุมโรค, สรุปสถานการณ์และมาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

กรมควบคุมโรค.ผลการดำเนินงานป้องกันโรคไข้หวัดนก. กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

แถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ณ กรุงเทพมหานคร: ประเทศไทย วันที่ 26 พฤศจิกายน 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-25

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป