การศึกษาปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในอำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • งามพิศ จันทร์ทิพย์

คำสำคัญ:

การร่วงละเมิดทางเพศ

บทคัดย่อ

        ปัจจุบันการล่วงละเมิดทางเพศมีจำนวนเพิ่มขึ้นเห็นได้ชัดจากข่าวที่เกิดขึ้นตามสื่อต่างๆโดยรูปแบบของการล่วงละเมิดและอายุของผู้ถูกกระทำ มีความแตกต่างกันออกไปซึ่งผลกระทบที่เกิดตามมาอาจมีมาก ถึงขั้นเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ก่อนวัยอันสมควร การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาของผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในอำเภอสันทรายในการรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มผู้ป่วยที่เข้ามารับการตรวจที่โรงพยาบาล สันทรายในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 มีนาคม 2547 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถูกล่วงละเมิดทางเพศในผู้ถูกกระทำ และกลุ่มผู้กระทำโดยวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังผลการศึกษาพบว่าผู้ถูกกระทำทั้งหมด 32 ราย เป็นหญิง 29 ราย ชาย 3 ราย อายุน้อยที่สุดที่พบคือ 3 ปี จนถึงอายุมากที่สุดที่พบคือ38 ปี ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นผู้รู้จักเช่นเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิดผลการตรวจร่างกายที่พบบาดแผลของอวัยวะเพศ 16 ราย (50%) ไม่พบบาดแผล 14 ราย (43.75%) และพบว่ามีการตั้งครรภ์ 1 ราย คนการตรวจทางด้านห้องปฏิบัติการโดยมากไม่พบตัวอสุจิแต่มักพบน้ำอสุจิ ในช่องคลอดส่วนระยะเวลาตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนกระทั่งมาตรวจร่างกายผ่านไปตั้งแต่ 1 วันจนถึง 6 เดือน การให้การดูแลประกอบด้วยทีมสหวิชาชีพที่เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและมุ่งเน้นถึงผลกระทบในด้านจิตใจของผู้ถูกกระทำเป็นสำคัญ การศึกษานี้มีประโยชน์ใช้เพื่อเป็นแนวทางในการให้การดูแลและสอดซองป้องกันในเชิงรุกในชุมชนต่อไปด้วยความหวังว่าจะสามารถปกป้องไม่ให้มีผู้ถูกกระทำเพิ่มขึ้นในอนาคต

References

American Humane Association National Study on Child Neglect and Abuse Reporting. Denver; 1981.

ผู้จัดการออนไลน์.ตะลึงตัวเลขเหยื่อข่มขืน 12 คนต่อวัน จัดสูติช่วยด่านแรก.คุณภาพชีวิต 30 มกราคม 2550 . เข้าถึงโดย : http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000011886.

ศูนย์ประสานงานเพื่อพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี จ.เชียงใหม่; 2547-2549.

Kilpatrick DG, Edmunds CN, Seymour AK.Rape in America: A report to the nation.National Victim Center;1992.

Cohen JA, Mannario AP. A treatment model for sexually abuse preschoolers. Journal of interpersonal violence; 1993(3): 115-131.

Finkelhor D, Korbin J. Child Abuse as International Issue. Child Abuse Negl; 1988(12): 3-23.

Stock JL, Bell MA, Boyer DK, Connell FA. Adolescent pregnancy and sexual risk taking Among sexually abused girls. Fam-Plann-Perspect 1997; 29(5): 200-27.

Wacharasindhu A. Post-traumatic stress disorder following sexual abuse in a very young child. Chula Med J 1992; 36(8): 617-23.

อัมพร แจ่มสุบรรณและพิไลวรรณ กลีบแก้ว. ข้อเสนอแนะในการดูแลผู้ป่วยถูกข่มขืนกระทำชำเรา.วารสารนิติวิทยาศาสตร์ ของนิติวิทยาศาสตร์สมาคมแห่งประเทศไทย. 2543;29(1): 35-37.

วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์.การตรวจพบตัวอสุจิในช่องคลอดของหญิงที่ผ่านการร่วมประเวณีมา.วารสารนิติวิทยาศาสตร์ของนิติวิทยาศาสตร์สมาคมแห่งประเทศไทย. 2538; 24(1): 13-20.

Mc.Closky KL, Muscillo Gc, Noordewier B.Prostatic Acid Phosphatase Activity in the Postcoital Vagina. J Forensic Sci 1975; 20: 630-36.

วัชรีอ้นนาคและอัมพร เบญจพลพิทักษ์. การทารุณทางเพศในเด็ก: ผลกระทบต่อครอบครัวและกลไกการปรับตัว. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2544; 9(1): 1-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป