การศึกษาการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ในผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลหางดงเปรียบเทียบกับของ ระดับจังหวัดเชียงใหม่ปีงบประมาณ 2548 – 2549

ผู้แต่ง

  • สุกิจ สุขประเสริฐ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV, ยาต้านไวรัสเอดส์

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนไปข้างหลัง  (Retrospective Study)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV  ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ระหว่างโรงพยาบาลหางดงกับภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อ HIV  ที่มาขึ้นทะเบียนรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ตั้งแต่ 1ตุลาคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2549 รวมระยะเวลา 2 ปี

ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์เป็นภาพรวมของระดับจังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น 2,021 ราย เป็นชาย 895 ราย (44.3%) เป็นหญิง 1,126 ราย (55.7%) ค่าเฉลี่ยอายุเท่ากับ 35.3 ปี (14-73 ปี) ส่วนที่โรงพยาบาลหางดง มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 115 ราย เป็นชาย 61 ราย (53%) เป็นหญิง 54 ราย (47%) ค่าเฉลี่ยอายุ เท่ากับ 37.5 ปี ( 26-54 ปี) ส่วนใหญ่มีสถานภาพคู่ 73 ราย (63.4%) สัญชาติไทย 112 ราย (97.4%) อาชีพ รับจ้าง 98 ราย (85.2%) โดยสามารถแยกกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อ HIV เมื่อแรกเข้าโครงการเป็นกลุ่ม Asymptomatic HIV 6 ราย (5.2%) Symptomatic HIV 33 ราย (28.7%) และ AIDS defining illness 76 ราย (66.1%)

โดยมีกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอดส์มาก่อน 104 ราย (90.4%) และเคยได้รับยาต้านไวรัสเอดส์มาก่อนแล้ว 11 ราย (9.6 %) ส่วนที่ระดับจังหวัดเชียงใหม่กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอดส์มาก่อน 1,618ราย (80.1%) และเคยได้รับยาต้านไวรัสเอดส์มาก่อนแล้ว 403 ราย (19.9%) และโรคติดต่อฉวยโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่ใน กลุ่มผู้ป่วยของโรงพยาบาลหางดง พบ Tuberculosis 20 ราย (13.8%) ที่ระดับจังหวัดเชียงใหม่มีกลุ่มผู้ป่วยที่มีค่า CD4 count ≤ 200 mm3 จำนวน 1,657 ราย (81.9%) ส่วนของโรงพยาบาลหางดง 112 ราย (97.4%)

ที่ระดับจังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนผู้ป่วยที่แสดงอาการข้างเคียงจากการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ 2,267 ราย เป็นกลุ่ม Lipodystrophy สูงที่สุด 1,333 ราย (58.8%) ส่วนของโรงพยาบาลหางดง มี 55 ราย เป็นกลุ่ม Lipodystrophy สูงสุด 20 ราย(36.4%)

          ที่ระดับจังหวัดเชียงใหม่มีจำนวนผู้ป่วยที่ออกจากโครงการฯ ด้วยสาเหตุต่างๆ 336 ราย(16.6%) เป็นกลุ่มเสียชีวิตจากโรคเอดส์มากที่สุด 150 ราย (44.6%) ส่วนที่โรงพยาบาลหางดงมี 21 ราย(38.2%) เป็นกลุ่มที่ไม่มาตามนัดมากที่สุด 9 ราย (43.8%) ผลการศึกษานำไปสู่การปรับปรุงแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ต่อไป

References

กลุ่มงานควบคุมโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ฝ่ายสนับสนุนวิชาการด้านควบคุมโรค สำนักงาน สาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่. สถานการณ์เอดส์จังหวัดเชียงใหม่. จังหวัดเชียงใหม่. 2549 : 1.

การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ในผู้ใหญ่. ใน: พญ.ทัศนา หลิวเสรีบรรณาธิการ . คู่มือการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ในผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร:ชัยพระเกียรติการพิมพ์, 2547: 9,13.

อาการไม่พึงประสงค์จากยาต้านไวรัสเอดส์และปฏิกิริยาระหว่างยา. ใน: พญ.ทัศนา หลิวเสรีบรรณาธิการ. คู่มือการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ในผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: ชัยพระเกียรติการพิมพ์, 2547: 28, 34.

นลินทิพย์ ธรรมฤกษ์ฤทธิ์, ผลการรักษาวัณโรคในผู้ป่ว ย ที่ติดเชื้อ HIV และไม่ติดเชื้อ HIV โรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่. ปีงบประมาณ 2545 – 2547. สาธารณสุขล้านนา. 2005: 173 – 181.

ขวัญชัย ศุภรัตนภิญโญ และทัศนา หลิวเสรี บรรณาธิการ. การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ในผู้ใหญ่. คู่มือการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ในผู้ใหญ่. พฤษภาคม 2547; จังหวัดเชียงใหม่ :คณะทำงานด้านการพัฒนาคู่มือและหลักสูตรการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ในโครงการพัฒนาการให้บริการรักษา เพื่อลดอัตราการหยุดยาและเพิ่มอัตราการกินยาต้านไวรัสเอดส์อย่างสม่ำเสมอ ในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอดส์ภาคเหนือของประเทศไทย; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-08

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป