เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกระหว่างพื้นที่เกิดโรคไข้เลือดออก ซ้ำซาก และพื้นที่ไม่เกิดโรคไข้เลือดออก จังหวัดสุโขทัย ปี 2548
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, พื้นที่เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก, พื้นที่ไม่เกิดโรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
โรคไข้เลือดออก สามารถป้องกันควบคุมโรคได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก น่าจะมีความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก และพื้นที่ไม่เกิดโรคจึงได้ศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลของครัวเรือนแหล่งรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเข้าร่วมกิจกรรมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ระหว่างพื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก และพื้นที่ไม่เกิดโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลเอ อำเภอเอ และตำบลบีอำเภอบี จังหวัดสุโขทัย รวมทั้งสิ้น 312 หลังคาเรือน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า T-test ผลการศึกษาด้าน ข้อมูลครัวเรือนของพื้นที่เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำซาก และพื้นที่ไม่เกิดโรคไข้เลือดออก พบว่าสภาพทั่วไปของชุมชนด้านประชากร อาชีพ การศึกษา ที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมภายในบริเวณบ้านเรือน บริบทโดยรวมแล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ด้านแหล่งรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน พื้นที่เกิดโรคไข้เลือดออกซ้ำซากพบว่า มีการรับรู้ข่าวสารอยู่ในระดับน้อย แต่พื้นที่ไม่เกิดโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับปานกลาง การเข้าร่วมประชุมและการณรงค์ของประชาชนในพื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก พบว่า การเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 66.0 สำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์ร้อยละ 67.9 การเข้าร่วมประชุม และการณรงค์ของประชาชนในพื้นที่ไม่เกิดโรคไข้เลือดออก พบว่า การเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 71.2 การเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์ร้อยละ 76.3 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกระหว่างพื้นที่เกิดโรคซ้ำซาก และพื้นที่ไม่เกิดโรคภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0 .05(p-value = .0001) ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p-value = 0.055) ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ภาพรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(p-value = 0 .001) และการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ภาพรวม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05(p-value <.001) ดังนั้น ควรสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมมาแก้ปัญหา และมีการส่งเสริมการป้องกันควบคุมโรค ด้วยวิธีทางกายภาพ ชีวภาพ โดยเน้นการใช้ภูมิปัญญาของคนในชุมชน
References
อภิญญา จุติตระกูลชัย. การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกจังหวัดสุโขทัยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย; 2547.
ชัยพร โรจนวัฒน์ศิริเวช. ความสำเร็จ 7 ปี (2542-2548) อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย ควบคุมลูกน้ำยุงลายได้ไม่มีไข้เลือดออก เป็นอำเภอแรกของประเทศไทย.จุลสารควบคุมโรค; 2548. หน้า 8-11.
มยุรี อินทุยานนท์. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย;2546-2548.
สุมนา ตันติไวทยพันธุ์. สรุปรายงานการสำรวจดัชนีลูกน้ำ งานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย; 2548.
สมใจ ทองเฟือและคณะ. การพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในชุมชนในพื้นที่ไข้เลือดออกสูงสุดและต่ำสุดของพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพมหานคร; 2547. 80 หน้า.
ศุลีพร นาควิโรจน์และคณะ. ปัจจัยการเกิดโรคไข้เลือดออกจังหวัดพัทลุงระหว่าง อำเภอที่มีการเกิดโรคสูงสุดและต่ำสุด สัมมนาการป้องกันควบคุมโรคติดต่อระดับชาติ กรมควบคุมโรคติดต่อยุคไร้พรหมแดน; 2543: 20 หน้า.
ปรัชญา เวสารัชช์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท. สถาบันไทยคดีศึกษาหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์; 2528: 20 หน้า.
มนตรี มณีศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ของชุมชนตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก.ภาคนิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542: หน้า 82- 89.
วลีรัตน์ อภัยบัณฑิตกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ คณะพัฒนาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2544. หน้า 74-95.
ศรีมงคล ประยูรวง และคณะ. ความคิดเห็น ความรู้ความเข้าใจ และการปฏิบัติต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เกิดโรค เปรียบเทียบพื้นที่ปลอดไข้เลือดออกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา การสัมมนาวิชาการกรมควบคุมโรคประจำปี 2545. หน้า 98.
ทองพันธุ์ ดุรงค์ภินันท์และคณะ. พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนของตำบลทางพระ จังหวัดอ่างทอง การสัมมนาวิชาการ กรมควบคุมโรค ประจำปี; 2545. หน้า 53.
สีวิกา แสงธาราทิพย์. ยุงลายพาหะนำ โรคไข้เลือดออก การควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ในโรคไข้เลือดออกฉบับประเกียรณก. กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุขนนทบุรี; 2544. หน้า 30– 77.
กุลยา เปียประดิษฐ์. แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยวิธีการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงสูง ในการประเมินผลโครงการประชาร่วมใจป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก; 2544. 63หน้า.
พัชนี ศิริสุนทร และลดาวัลย์สวนงาม. การประเมินศักยภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานป้องกันควบคุมและแก้ไข วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12547; 8(2): 161–165.
สวรรยา สิริภคมงคล และคณะ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ใน 4 อบต. ของเขต 8 นครสวรรค์การสัมมนาวิชาการ กรมควบคุมโรค;2545. 52 หน้า.