รูปแบบการดำเนินงานหมู่บ้านสร้างสุขภาพในอำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • คณาธิป มุดเจริญ

คำสำคัญ:

รูปแบบการสร้างสุขภาพชุมชน, การวิจัยแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

             การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมการสร้างสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์, การสนทนากลุ่ม, การจัดเวทีประชาคมแกนนำสุขภาพ โดยศึกษาหมู่บ้านพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ จำนวน 3 หมู่บ้าน ดำเนินการวิจัยระหว่าง มี.ค.-ก.ย. 2547 ผลการศึกษา รูปแบบการดำเนินงานหมู่บ้านสร้างสุขภาพ ประกอบด้วยการมีผู้นำด้านสุขภาพตัวอย่างหมู่บ้านละ 10 คน มีบทบาทในการนำการพัฒนา ควบคุมกำกับแผนงานในกิจกรรมสร้างสุขภาพระดับหมู่บ้าน มีการประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ผลการดำเนินงานกิจกรรมการสร้างสุขภาพในระดับหมู่บ้านทุกหมู่บ้านมีชมรมสร้างสุขภาพ หมู่บ้านละ 1 ชมรม ประชาชนมีการปลูกผักพื้นบ้านรับประทานเอง ร้อยละ 80 ของครัวเรือน มีการตรวจสารปนเปื้อนในร้านอาหารในระดับหมู่บ้าน แต่ตรวจไม่พบสารปนเปื้อน ทุกหมู่บ้านมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุหมู่บ้านละ 1 ชมรม มีการรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง เดือนละ1 ครั้งๆ ละ 1วัน ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สตรีได้รับการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูก และสามารถตรวจมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเอง มีการคัดกรองผู้ป่วยความดันสูงในหมู่บ้าน การศึกษาความรู้ ความเข้าใจและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนพบว่ามีความรู้ ระดับดี ร้อยละ 100 จากการเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสุขภาพพบว่าความรู้ ความเข้าใจของประชาชนก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านสร้างสุขภาพ มีความแตกต่างกันยังมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P-value>0.05) และประชาชนมีความตระหนักต่อปัญหาสุขภาพและมีพฤติกรรมการสร้างสุขภาพที่ดีขึ้น

References

จีรวรรณ หัสโรค์ และอดิศร วงค์คงเดช. ความคิดเห็นของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการกระจายอำนาจการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานสู่องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ขอนแก่น. ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ; 2540.

จีรวรรณ หัสโรค ขวัญชัย หมั่นคำ ปราณี คำศิริรักษ์ และคณะ. ประชาคมสุขภาพตำบล ศึกษากรณีตำบลหนองหว่านอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. พิมพ์ครั้งที่ 2 คลังนานาวิทยา จ.ขอนแก่น; 2542.

ชูชัย ศุภวงค์ และยุวดี คาดการณ์ไกล. ประชาคมทรรศนะนักคิดในสังคมไทย.กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์มติชน; 2540.

ชาติชาย ณ เชียงใหม่. ประชาสังคม. ในประชาคมทรรศนะนักคิด, กรุงเทพ,สำนักพิมพ์มติชน; 2540: 93-118.

พรทิพย์ สุประดิษฐ์ และคณะ. สถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มของงานสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน; 2543.

พลเดช ปิ่นประทีป. สู่ความเป็นไทด้วยพลังท้องถิ่น เสนอกรอบแนวคิดเพื่อการจัดทำแผน 9. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.พิมพ์โดยสถาบันท้องถิ่นพัฒนา; 2542: 21-54.

ทวีศักดิ์ นพเกสร.วิกฤตสังคมไทยกับบทบาทวิทยากรระบวนการ (เล่ม 1,2) : 2542 ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ.ประชาสังคมพัฒนาการและนัยยะแห่งอนาคต (อ้างในจีรวรรณ หัสโรค ขวัญชัย หมั่นคำ ปราณี คำศิริรักษ์ และคณะ.ประชาคมสุขภาพตำบล ศึกษากรณีตำบลหนองหว่าน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พิมพ์ครั้งที่ 2. คลังนานาวิทยา จ.ขอนแก่น; 2542

ธีรยุทธ บุญมี ประชาสังคมในประชาคมทรรศนะนักคิด. กรุงเทพ.สำนักพิมพ์มติชน; 2540: 93-118.

ประเวศ วะสี. สังคมดีไม่มีขายอยากได้ต้องร่วมสร้าง. หนังสือชุดประชาคม ลำดับที่ 17. 2542: 6-8.

ประเวศ วะสี. ประชาคมตำบล ยุทธศาสตร์เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง ศีลธรรมและสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์มติชน; 2541: 36-46.

สุวิทย์ วิบูลผลประเสริฐ. ประชาคมกับการพัฒนาสุขภาพ บทวิเคราะห์ทางวิชาการ พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2540.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็น ในระดับจังหวัด และระดับอนุภาค; 2542: 1-27.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. ทฤษฎีสังคมวิทยา การสร้าง การประเมินค่า และการใช้ประโยชน์.ตำรา. ในโครงการตำราพื้นฐานคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2539ซ 67-73.

สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน. ข้อมูลการบริหารจัดการงานสาธารณสุขมูลฐานภายใต้ระบบงบประมาณแนวใหม่ เอกสารอักสำเนา; 254,

ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์. แนวทางการดำเนินงานหมู่บ้านสรางสุขภาพ, 2545.

ศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน. ปัจจัยการเกิดขบวนการการมีส่วนร่วม.2542. เอกสารอัดสำเนา

เอกนก เหล่าธรรมทัศน์. การเมืองแบบใหม่ การเมืองพึ่งตนเอง. เอกสารประกอบการอบรม. ทิศทางการพัฒนางานสาธารณสุข ปี 2000 ณ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐาน วันที่ 21-23 ธันวาคม 2542.

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. แนวคิดประชาสังคม. อ้างในหนังสือประชาสังคมในทรรศนะนักคิดในสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์มติชน 2541: 73-89.

อนุชาติ พวงสำลี. ข้อเสนอเชิงแนวคิด เพื่อการพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ประชาคมจังหวัดนครปฐม. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2539.

Be Philips .Frank A and Others. Management of training Program. llinois: Richard D. Irwin lnc.1960.

David Mathews. Elements of strong Civil Society And HEAL THY Public life. Kettering Foundation April , 1996.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป