รูปแบบการดำเนินงานตามโครงการ TO BE NUMBER ONE ระดับตำบล/หมู่บ้าน กรณีศึกษากลุ่มเยาวชนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
คำสำคัญ:
การวิจัยแบบมีส่วนร่วม, เยาวชน, ยาเสพติดบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “รูปแบบการดำเนินงานตามโครงการ TO BE NUMBER ONE ระดับตำบล/หมู่บ้าน” เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ในกลุ่มเยาวชนของตำบลส้าน จำนวน 100 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเยาวชน ส่งเสริมการจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE ระดับตำบล/หมู่บ้าน และศึกษาปัจจัยที่มีผลสำเร็จต่อการดำเนินงานตามโครงการฯ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประเด็นการสนทนากลุ่มแบบสอบถาม กลุ่มแกนนำเยาวชน และสมาชิกชมรม TO BE NUMBER ONE จำนวน 250 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ในเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/ PC+ for window ใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพจะอธิบายกระบวนการสัมมนาแกนนำเยาวชน และความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของชมรม TO BE NUMBER ONE ระดับตำบล/หมู่บ้าน ผลของการศึกษาวิจัย กลุ่มเยาวชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความตระหนัก มีการกำหนดวิสัยทัศน์ของกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ การรวมกลุ่มย่อยเรียนรู้ร่วมกันขยายตัวเป็นเครือข่ายในลักษณะของชมรม ทั้งนี้ ต้องอาศัยการทำงานแบบพหุภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระบวนการ่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ โดยใช้กลไกการทำงานแบบเครือข่าย จึงจะทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดได้บรรลุผล
References
กรมสุขภาพจิต. คู่มือแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการระบาดของยาบ้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยกองประสานการปฏิบัติการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงาน ป.ป.ส. สำนักนายกรัฐมนตรี
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการสอน ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันสารเสพติดในสถานศึกษาระดับ ประถมศึกษา; 2542.
กรมสุขภาพจิต, TO BE NUMBER ONE โครงการรณรงค์และแก้ไขปัญหายาเสพติดในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี; 2545.
กองสาธารณสุขภูมิภาค. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บ้านน้ำเกี๋ยน: การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน วัดโรงเรียน และสถานีอนามัย, นนทบุรี; 2541.
กองประสานการปฏิบัติการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงาน ทางรอด วิกฤตและทางออกของปัญหาการระบาดของยาบ้า; 2545.
กมลทิพย์ แจ่มกระจ่าง. “หลักการและเทคนิคการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาของประชาชน” วารสารสาธารณสุขมูลฐานภาคกลาง 2540; 12.
จีรวรรณ หัสโรค ขวัญชัย หมั่นคำ ปราณี คำศิริรักษ์ และคณะ. ประชาคมสุขภาพตำบล ศึกษากรณีตำบลหนองหว่าน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม, พิมพ์ครั้งที่ 2 จ.ขอนแก่น คลังนานาวิทยา; 2542.
ดุสิต ดวงสา. คู่มือและหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครในการทำงานด้านเอดส์และการให้คำปรึกษาในชุมชน, การวิเคราะห์ชุมชนอย่างมีส่วนร่วม; 2540.
ทวีศักดิ์ นพเกสร. วิกฤตสังคมไทยกับบทบาทวิทยากรกระบวนการ(เล่ม 1,2) ; 2542.
ภาวิณี อยู่ประเสริฐ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดของนักเรียนวัยรุ่นในกรุงเทพมหานครฯ, วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์บัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.
อารยา สิโรคดม, ม.ล.และคณะ; ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนแออัดกับยาเสพติด; รายงานวิจัย : 2540.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย, เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็นในระดับจังหวัดและระดับอนุภาค; 2542ซ 1-27.
โรงพยาบาลธัญญารักษ์. รูปแบบการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาการประชุมปฏิบัติการพิจารณาแนวทางและหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ สำนักงาน ป.ป.ส. วันที่ 28-30 กรกฎาคม 2541. เอกสารอัดสำเนา
โรงพยาบาลอินทร์บุรีร่วมกับโรงเรียนสิงห์บุรีและวิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี. ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา การประชุมปฏิบัติการพิจารณาแนวทางและหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด วันที่ 28-30 กรกฎาคม 2541 ณ สำนักงาน ป.ป.ส. ศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน ปัจจัยการเกิดขบวนการการมีส่วนร่วม; 2542. เอกสารอัดสำเนา
ศูนย์แนะแนวการศึกษาและอาชีพ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษา. รูปแบบและแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยใช้กระบวนการแนะแนว, การประชุมปฏิบัติการพิจารณาแนวทางและหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ สำนักงาน ป.ป.ส. วันที่ 28-30 กรกฎาคม 2541. เอกสารอัดสำเนา
สุวิทย์ วิบูลผลประเสริฐ. ประชาคมกับการพัฒนาสุขภาพ บทวิเคราะห์ทางวิชาการ, พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2540.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. ทฤษฎีสังคมวิทยา การสร้าง การประเมินค่า และการใช้ประโยชน์ตำรา ในโครงการตำราพื้นที่ฐานคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2539: 67-73.
สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน. ข้อมูลการบริหารจัดการงานสาธารณสุขมูลฐานภายใต้ระบบงบประมาณแนวใหม่, 2541. เอกสารอัดสำเนา
สำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. รายงานการประชุมวิชาการทักษะชีวิต เรื่อง การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ครั้งที่ 2, กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 25-26 มีนาคม 2542. เอกสารอัดสำเนา
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักนายกรัฐมนตรี, แผนปฏิบัติงานเพื่อเอาชนะยาเสพติด พ.ศ. 2544-2545. เอกสารอัดสำเนา
สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. สำนักนายกรัฐมนตรี. คู่มือประกอบการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน. เอกสารอัดสำเนา
David Mathews. Elements of strong Civil Society And Healthy Public life. Kettering Foundation April, 1996.