การมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสชุมชนและโรงเรียน ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ สีสุข
  • ประจบ ประจงแต่ง

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชน, โรงเรียน, การป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส

บทคัดย่อ

             การวิจัยประเมินผลการดำเนินงานการประเมินผลโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของแกนนำชุมชนในการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนและโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมและบริบท (Context Evaluation) ปัจจุบันนำเข้า (Input Evaluation) กระบวนการ(Process Evaluation) และเพื่อประเมินผลผลิต(Product Evaluation) ผลการประเมินสรุปผลดังนี้ สภาพแวดล้อมและบริบท (Context Evaluation) พบว่าหมู่บ้านเป้าหมายส่วนใหญ่ล้อมรอบด้วยทุ่งนา ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการดำนา การเกี่ยวข้าว การลุยน้ำช่วงดูแลข้าวก่อนออกรวง การหาปลา หาปู ชาวนาโดยเฉพาะผู้ชายบังไม่นิยมสวมรองเท้าบู้ทไถนา ด้านนโยบายการควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส จังหวัดแพร่ จะเน้น การมีส่วนร่วมของชุมชน เสริมสร้างศักยภาพในชุมชนระดับตำบลโดยเน้นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ประเมินปัจจัยนำเช้า (Input Evaluation) ด้านบุคลากร วิทยากรกระบวนการด้านงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลทุกหมู่บ้านหมู่บ้านละ 5,000 บาท รวม 60,000 บาท กองทุนรองเท้าบู้ทและกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) การจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องการ ป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชนและนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 และแนวทางการจัดสัมมนาแกนนำชุมชนดำเนินการสัมมนาสร้างแกนนำชุมชนเพื่อให้มีส่วนร่วมในการทำงานควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส ในแต่ละหมู่บ้านมีการจัดทำประชาคมหมู่บ้านปลอดโรคเลปโตสไปโรซีส การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับ ปะเมินผลผลิต(product Evaluation) ผลจากการประเมินผลความรู้ ความเข้าใจของประชาชนและนักเรียน พบว่า หลักการดำเนินโครงการประชาชนมีความรู้ในรดับดี ร้อยละ 88.1 และร้อยละ 94.8 จากการเปรียบเทียบ ความรู้ของประชาชนเกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซีส ก่อน – หลัง การดำเนินงานโครงการพบว่า มีความแตกต่างกนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ค่า p>0.000 พฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในประชาชน พบว่า ในระดับครอบครัวมีการเก็บอาหารเศษอาหารที่มิดชิด เพื่อป้องกันหนูมากินหรือปัสสาวะรด มีการทำเป็นประจำ ร้อยละ 32.38 การป้องกันหนูในที่พัก พบว่า มีประชาชนที่ทำการป้องกันนำสังกะสีมาตีรอบเสาป้องกันหนูขึ้นบ้านหรือยุ้งฉางข้าว ร้อยละ 28.53 กำจัดโดยกาวกับดัก ร้อยละ 36.21 ใช้ยาเบื่อ ร้อยละ 72.11 เลี้ยงแมว ร้อยละ 25.32 เก็บมูลฝอยในภาชนะที่มิดชิด ร้อยละ 95.83 การกำจัดหนูตามไร่นา มีการกำจัดหนู ร้อยละ 92.63 ส่วนใหญ่กำจัดโดย ถางหญ้า เช่น หญ้าคา หรือ หญ้าอื่นๆ ที่เป็นที่อาศัยของหนู ร้อยละ 100 ใช้ยาเบื่อร้อยละ 80.63 กาวและกับดัก ร้อยละ 21.92 ชุดรูทำลายรังหนู ร้อยละ 38.41 จับมาทำอาหาร ร้อยละ 18.69 และการป้องกันตนเอง การไปทำงานในไร่ สวน ทุ่งนา ย่ำโคลน เลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่จะปฏิบัติตนเองโดยสวมรองเท้าบูททุกครั้ง ร้อยละ 49.68 เกี่ยวกับการประกอบอาหารและบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ล้างมือทุกครั้งเมื่อจับต้องเนื้อสัตว์ ร้อยละ 94.23 การรับประทานเนื้อดิบ เช่น ลาบดิบ ย่างเนื้อสุกๆดิบๆ ส่วนใหญ่ รับประทานบางครั้ง (สัปดาห์ 1-2 ครั้ง) ร้อยละ 48.07 การชำแหละเนื้อสัตว์ ส่วนใหญ่ไม่นิยมสวมถุงมือ ร้อยละ 82.05 ในการจับปู ปลา หรือสัตว์น้ำ ทุกครั้งมีการป้องกันตนเอง พบว่า ส่วนใหญ่ไม่นิยมสวมถุงมือ ร้อยละ 74.68 ในโรงเรียนพบว่า มีกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนเรื่อโรคเลปโตสไปโรซีส การจัดป้ายนิเทศ/การจัดบอร์ดเผยแพร่ความรู้การรณรงค์กำจัดหนูและกำจัดแหล่งอาศัยของหนูโดยทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน การเผยแพร่ความรู้แก่ชุมชนโดยนักเรียน และการร่วมรณรงค์กำจัดหนูร่วมกับชุมชน

References

กรมควบคุมโรคติดต่อ. คู่มือการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีส สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2 บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออกจำกัด, 2544.

กรมควบคุมโรคติดต่อ. คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีส สู่การมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบล. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทยจำกัด; 2542.

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข คู่มือวิชาการโรคเลปโตสไปโรซีส. โรงพิพม์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2542.

กรมควบคุมโรคติดต่อ และสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ คู่มือนักเรียน เรื่องโรคเลปโตสไปโรซีส. พิมพ์ครั้งที่ 1 ที่โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2544.

ชัยยงสิษฐ์ เดชธรรมและภวัต อารินทร์ การศึกษากระบวนการประชาคมสุขภาพตำบล เพื่อแก้ไขปัญหาโรคเลปโตสไปโรซิสในพื้นที่จังหวัดแพร่. รายงานวิจัย; 2545.

พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสงและคณะ. การระบาดโรคเลปโตสไปโรซีส อำเภอโกสุพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. รายงานวิจัย; 2544.

ศูนย์ประสานงานทางวิชาการโรคติดต่อ. รวมบทคัดย่อโครงการวิจัยของกรมควบคุมโรคติดต่อที่ดำเนินการในช่วงแผนฯ 8 (พ.ศ. 2540-2544): 2545.

ศรีสมร กมลเพ็ชร และคณะ. การพัฒนารูปแบบโรคเลปโตสไปโรซีสด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา. รายงานวิจัย; 2544.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. โรคที่เกิดจากหนูชุกชุม เอกสารเผยแพร่. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่, คู่มือการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส; 2542. เอกอัดสำเนา

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. แนวทางการสนับสนุนการดำเนินงานควบคุมโรคติดต่อ ระดับจังหวัดและอำเภอ ปีงบประมาณ 2546. เอกสารอัดสำเนา

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่. ผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส: 2546. เอกสารอัดสำเนา

เสาวภา พรสิทธิ์ และคณะ. ความรู้เกี่ยวกับโรคเลปโตสไปโรซีส ในการประชากรกลุ่มเสี่ยง. รายงานวิจัย; 2542.

เสาวภา พรสิริพงษ์ และคณะ. พฤติกรรมเสี่ยงการเป็น.โรคเลปโตสไปโรซีส จังหวัดนครราชสีมา รายงานวิจัย; 2542.

สมชาย ภาสอาจ และคณะ. เลปโตสไปโรซีส จังหวัดสกลนคร. รายงานวิจัย; 2542.

วนิดา วิระกุล. รายงานการประเมินผลการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีสของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สำนักงานโครงการควบคุมโรคเลปโตสไปโรซีส กรมควบคุมโรคติดต่อ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการ สาธารณสุขมูลฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น; 2545.

วราณี โสไกร และคณาธิป มุดเจริญ. รายงานวิจัยการพัฒนาแกนนำชุมชนในการทำงานควบคุมป้องกัน โรคเลปโตสไปโรซีสในชุมชน จังหวัดแพร่’ 2545.

วราลักษณ์ ตังคณากุลและคณะ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเลปโตสไปโรซีสในประชากรเขตชนบท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรายงานวิจัย; 2542.

วราลักษณ์ ตังคณากุลและคณะ. ความชุกของโรคเลปโตสไปโรซีสโดยไม่มีอาการในประชากรกลุ่มเสี่ยง พ.ศ. 2541 งานวิจัย ; 2542.

อุดม พรมกร และคณะ. ระบาดวิทยาโรคเลปโตสไปโรซีส อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. ศูนย์ระบาดวิทยาภาคเหนือ; 2541.

อาริยะ สัจจาวัฒนาและคณะ. พฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีสในช่วงเดือนกรกฎาคม –สิงหาคม 2542 จังหวัดบุรีรัมย์. รายงานวิจัย; 2542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-09

ฉบับ

บท

บทความวิชาการทั่วไป