การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในเขตภาคเหนือตอนบน
คำสำคัญ:
การรับรู้ข่าวสารของประชาชน, การป้องกันควบคุมโรคและสุขภาพบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอนและพะเยา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2547 รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,872 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที่ (t-test) สถิติค่าเอฟ (F-test) และค่า Chi-square ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 65.9 ซึ่งส่วนใหญ่เคยได้รับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกมากที่สุด รองลงมาคือ โรคเอดส์ อุบัติเหตุ โรคหัวใจและหลอดเลือด และวัณโรค คือ สื่อประเภทเครื่องมือ ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุและหอกระจายข่าว/เสียงตามสาย ส่วนโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ สื่อบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข นอกจากนี่ยังพบว่าการรับรู้ผ่านสื่อทุกประเภทมีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรค นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคอยู่ในระดับที่ต้องแก้ไข ร้อยละ 71.4 นอกจากนี้ปัจจัยด้านอายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคมีอิทธิพลทำให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคต่างกัน ดังนั้นการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชนควรมีการพัฒนาเนื้อหาความรู้และวิธีการให้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยผ่านทางช่องทาง/สื่อที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคและภัยสุขภาพให้มากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
References
ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา และคณะ. สุขภาพคนไทย 2546. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.): 2547.
Orem D.E. Nursing Concept of Practice. 4th ed St. Louis: Mosby Year Book, 1991.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์ และคณะ. การสื่อสารสุขภาพศักยภาพของสื่อมวลชนในการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพิมพ์; 2546.
พงษ์พันธ์ อันตะริกานนท์. เทคนิคการใช้สื่อสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตและพัฒนาสื่อสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2539.
สนิท พึ่งสาย. ความสัมพันธ์ปัจจัยร่วมด้านประชากร ปัจจัยด้านความเชื่อทางด้านสุขภาพ และปัจจัยร่วมด้านแรงสนับสนุนทางสังคมกับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยนอก กลุ่มงานอายุกรรมโรงพยาบาลตากสิน. วิทยานิพนธ์ วท.ม. กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยมหิดล; 2539. เอกสารอัดสำเนา.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. ทัศนคติ: การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พีระพัฒนา; 2532.